อุตสาหกรรมน้ำมันพืช
อุตสาหกรรมน้ำมันพืช เป็นอุตสาหกรรมการเกษตรที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ซึ่งอุตสาหกรรมน้ำมันพืชอาจจะไม่ใช่อุตสาหกรรมที่ใหญ่ แต่จะเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและเป็น
ทางผ่านของเปลี่ยนแปลงจากอุตสาหกรรมหนึ่งไปเป็นอีกอุตสาหกรรมหนึ่ง เช่น อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และปศุสัวตว์ ซึ่งประเทศไทยการผลิตน้ำมันพืชส่วนใหญ่นั้นใช้เป็นอาหาร ส่วนการผลิตเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ
โดยตรงนั้นมีน้อย
ภาพรวมตลาดน้ำมันโลก
ในตลาดโลกมีพืชหลายชนิดที่สามารถนำมาผลิตน้ำมันสำหรับบริโภคได้ แต่คนไทยอาจไม่คุ้นเคย เช่น ชา กาแฟ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ อะโวคาโด มาคาดาเมีย บราซิลนัต ฯลฯ ซึ่งน้ำมันจากพืชเหล่านี้
จะมีตลาดเฉพาะและมีขนาดเล็ก ใช้เพื่อวัตถุประสงค์บางประการ จึงไม่เป็นที่แพร่หลายนัก ทั้งนี้ น้ำมันพืชที่รู้จักกันดีทั่วโลกได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวันน้ำ
มันเรปซีด น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดฝ้าย และน้ำมันข้าวโพด ซึ่งความนิยมเลือกใช้น้ำมันพืชในแต่ละภูมิภาคของโลกจะต่างกันตามความคุ้นเคยและระดับราคาที่จำหน่ายในประเทศ รวมถึงขึ้นอยู่กับว่าประเทศนั้น ๆ
เป็นแหล่งเพาะปลูกพืชชนิดใด ในปี 2554/55 ตลาดโลกมีปริมาณการผลิตน้ำมันพืชรวม 153.47 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.05 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา น้ำมันพืชที่มีการเติบโตสูงสุด
คือ น้ำมันเมล็ดทานตะวัน เฉลี่ยร้อยละ 7.68 ต่อปี รองลงมาได้แก่ น้ำมันปาล์ม น้ำมันเรปซีด และน้ำมันเมล็ดในปาล์ม เฉลี่ยร้อยละ 5.17 4.89 และ 4.29 ต่อปี ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาสัดส่วนปริมาณการผลิตน้ำมันพืชของโลก ในช่วงปี 2554/55 พบว่า น้ำมันปาล์ม มีปริมาณการผลิตมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 33 รองลงมา ได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง (ร้อยละ 27.)
น้ำมันเรปซีด (ร้อยละ 15) และน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน (ร้อยละ 9.)
ตารางปริมาณการผลิตน้ำมันพืชในตลาดโลก ปี 2550/51 – 2554/55 (หน่วย: ล้านตัน)

รูปสัดส่วนปริมาณการผลิตน้ำมันพืชในตลาดโลก ปี 2554/55 2554/55
ในปี 2554/55 มีการบริโภคน้ำมันพืชในตลาดโลกรวม 151.01 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.26 เมื่อเทียบกับปีก่อนโดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การบริโภคน้ำมันพืชที่มีการเติบโตสูงสุด คือ น้ำมันเมล็ดทานตะวัน
เฉลี่ยร้อยละ 8.24 ต่อปี รองลงมาได้แก่ น้ำมันปาล์ม น้ำมันเรปซีด และน้ำมันเมล็ดในปาล์ม เฉลี่ยร้อยละ 5.37 5.33 และ 4.69 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณา สัดส่วนปริมาณการบริโภค
น้ำมันพืชของโลก ในช่วงปี 2554/55 พบว่า น้ำมันปาล์มมีปริมาณการบริโภคมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 33 ส่วนน้ำมันที่มีการบริโภครองลงมา ได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง (ร้อยละ 28) น้ำมันเรปซีด (ร้อยละ 15)
และน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน (ร้อยละ 8) โดยมีการบริโภคน้ำมันพืชทั้งสี่ชนิดรวมกัน คิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 85 ของการบริโภคทั่วโลก ซึ่งในทางธุรกิจถือว่ามีที่ว่างเหลือไม่มากนัก
สำหรับน้ำมันพืชชนิดอื่นที่จะเข้ามาแข่งขันในเชิงปริมาณ ดังนั้น กลยุทธ์การวางตำแหน่งสินค้าของน้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ จำเป็นต้องหาจุดแตกต่างเพื่อสร้างการรับรู้และคุณค่าของสินค้าให้แก่ผู้บริโภค
เพื่อยกระดับราคาสินค้าต่อหน่วยให้สูงขึ้น
สำหรับการค้าน้ำมันพืชโลกนั้น หากพิจารณาจากมูลค่าตลาด อาจจำแนกเป็น 7 กลุ่ม โดยกลุ่มที่มีส่วนแบ่งตลาดโลกมากกว่าร้อยละ 5 ขึ้นไป ได้แก่ 1) น้ำมันปาล์ม 2) น้ำมันถั่วเหลือง
3) น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน เมล็ดดอกคำฝอย และน้ำมันเมล็ดฝ้าย 4) น้ำมันเรปซีด มัสตาร์ด 5) น้ำมันมะกอก 6) น้ำมันมะพร้าวบาบาสสุ และ 7) กลุ่มที่มีส่วนแบ่งตลาดน้อยกว่าร้อยละ 5
อันได้แก่ น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันงา น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดชา และอื่น ๆ
อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในประเทศไทย
ในประเทศไทย น้ำมันพืชที่ครองตลาดสูงสุด คือ น้ำมันปาล์ม และน้ำมันถั่วเหลือง โดยปกติ น้ำมันปาล์มจะได้จากผลผลิตในประเทศเป็นสำคัญ และมีราคาต่ำกว่าน้ำมันถั่วเหลืองที่ส่วนใหญ่ได้จากการนำเข้า
เมล็ดถั่วเหลืองจากต่างประเทศ ซึ่งจุดประสงค์ของการใช้น้ำมันทั้งสองมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ในด้านคุณสมบัติของน้ำมันและลักษณะที่นำไปใช้ โดยน้ำมันปาล์มจะเหมาะสมกับการนำไปทอด
เพราะมีความหนาแน่น ให้ความร้อนสูงกว่า และไม่มีกลิ่นเหม็นหืน ส่วนน้ำมันถั่วเหลืองจะเหมาะสมกับการผัด และผสม เพื่อทำสลัด แต่หากราคาไม่แตกต่างกันนัก ผู้บริโภคก็จะไม่เกี่ยงการใช้น้ำมันชนิดใดแทนกันได้
วิกฤตน้ำมันปาล์มขาดแคลน สำหรับประเทศไทยเริ่มมีปัญหาตั้งแต่ปลายปี 2550 ที่ผลผลิตปาล์มน้ำมัน เกิดการพักตัวทำให้ภาพรวมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มตึงตัว จนกระทั่งกลางปี 2552
ผลผลิตปาล์มได้กลับออกสู่ตลาดมากจนทำให้ราคาผลปาล์มดิบลดต่ำลง ผลผลิตปาล์มมีเกินกว่ากำลังการผลิตของโรงสกัดน้ำมันปาล์มที่สกัดและจะส่งต่อให้โรงกลั่นน้ำมันปาล์มผลิตออกสู่ตลาดน้ำมันบริโภคได้ทัน
กระทรวงพลังงานจึงเข้ามาดำเนินการดึงส่วนเกินออกจากตลาดโดยการเร่งบังคับใช้ไบโอดีเซล B100 และปรับการผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซลภาคบังคับเพิ่มขึ้นจาก B2 เป็น B3 ในช่วงปี 2553 และจูงใจให้ผู้บริโภค
หันมาใช้ B5 ในราคาที่ต่ำกว่าลิตรละเกือบ 2 บาท ทำให้ผู้ผลิตไบโอดีเซลต้องเพิ่มสำรองผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบขึ้น ในช่วงปี 2554 รัฐบายขอให้กระทรวงพลังงานลดการผสมไบโอดีเซล ภาคบังคับลงจาก B3 เป็น B2
เป็นการชั่วคราว โดยให้โรงงานไบโอดีเซลรับซื้อสเตียรีนที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปาล์มดิบกึ่งใสที่นำเข้าจากต่างประเทศมาผลิตเป็นน้ำมันบริโภคแล้วไปผลิตไบโอดีเซลเป็นการชั่วคราว (เดิม ไม่อนุญาตให้ใช้วัตถุดิบ
นำเข้าเพื่อผลิตเป็นไบโอดีเซล เพื่อพยุงราคาผลปาล์มน้ำมันในประเทศเป็นสำคัญ) เพื่อนำมาผลิตเป็นน้ำมันปาล์มเพื่อบริโภค ทำให้สามารถแก้ปัญหาความขาดแคลนน้ำมันปาล์มได้
ปัญหาการขาดแคลนน้ำมันถั่วเหลือง ในประเทศไทย พบว่าการที่รัฐกำหนดราคาขายไว้ โดยที่มีสมมติฐานในการคำนวณต้นทุนที่ระดับหนึ่ง เมื่อเกิดปัญหาราคาวัตถุดิบสูงขึ้น ประกอบกับสินค้าที่ทดแทนกัน คือ
ปาล์มน้ำมัน มีการปรับราคาจนสูงกว่า จึงเกิดการปรับเปลี่ยนมาใช้ทดแทนเพิ่มขึ้น ในขณะที่การเพิ่มลดปริมาณการผลิตของน้ำมันถั่วเหลือง มีปัจจัยอื่นเข้ามากระทบด้วย คือ การผลิตน้ำมันถั่วเหลืองจะมี
กากถั่วเหลืองเป็นสินค้าควบคู่กัน เดิม กากถั่วเหลืองจะถูกส่งจำหน่ายให้โรงงานผลิตอาหารสัตว์ในประเทศ
ทำให้มีความจำเป็นที่ต้องพึ่งพากันระหว่างอุตสาหกรรมทั้งสอง แต่หากโรงงานอาหารสัตว์มีปริมาณสำรองกากถั่วเหลืองอยู่มาก การผลิตน้ำมันถั่วเหลืองจะเริ่มมีปัญหาในเรื่องการเก็บกากถั่วเหลือง ซึ่งผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลือง
ในปัจจุบันหลายรายกำลังประสบอยู่ เนื่องจากผู้ผลิตอาหารสัตว์ ได้มีการนำเข้ากากถั่วเหลืองมาสำรองไว้ช่วงปลายปี 2553 จำนวนมากเป็นผลจากการคาดการณ์ระดับราคากากถั่วเหลืองในต่างประเทศอาจจะมีการปรับตัวสูงขึ้น
ความสัมพันธ์ของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และอุตสาหกรรมน้ำมันถั่วเหลือง ก็มีความสัมพันธ์ต่อกัน ไม่ดีนัก เห็นได้จากการที่สมาคมที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์มีการร้องขอให้รัฐลดอัตราภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง
ลงจากร้อยละ 2 เป็นร้อยละ 0 แต่สมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองได้คัดค้านมาโดยตลอด เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการลดอัตราภาษีนำเข้ามาจนเกือบไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ นอกจากนี้การคำนวณต้นทุนการผลิต
ที่ไม่ได้พิจารณาการเพิ่มขึ้นของค่าบรรจุภัณฑ์ ค่าขนส่ง และค่าการกระจายและวางจำหน่าย ผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองจึงขอให้รัฐพิจารณาทบทวนเพื่อขอขึ้นราคาจำหน่ายตามต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้การผลิต
น้ำมันถั่วเหลืองยังไม่สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตได้แม้ว่าจะมีความต้องการมากก็ตาม
ดังนั้น ปาล์มน้ำมัน จึงนับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ปัจจุบันไทยมีจำนวนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันมากกว่า 1.28 แสนครัวเรือน มีพื้นที่เพาะปลูก และพื้นที่ให้ผลผลิตประมาณ 4.28 และ 3.98 ล้านไร่
ตามลำดับ สามารถผลิตน้ำมันปาล์มดิบได้ปีละ 1.9 ล้านตัน ซึ่งช่วยสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรประมาณ 6 หมื่นล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ การผลิตน้ำมันปาล์มดิบของไทยในปี 2555 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 5-7 จากปีก่อนหน้า
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากที่ภาครัฐได้มีการดำเนินยุทธศาสตร์ปาล์มน้ำมันในช่วงปี 2551-2555 เพื่อเร่งผลัก ดันให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมัน เพิ่มผลผลิต และผลิตภาพการผลิตน้ำมันปาล์มดิบเพื่อรองรับ
กับยุทธศาสตร์พลังงานทดแทน และลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อความมั่นคงทาง ด้านอาหารของประเทศ ประกอบกับราคาผลปาล์มดิบในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเดิมที่มีราคาเฉลี่ย
กิโลกรัมละ 4 บาทในปี 2552 ปรับขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 6 บาทในปี 2555 จึงเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เกษตรกรขยายพื้นที่การเพาะปลูก
ลักษณะพันธุ์ปาล์มน้ำมัน
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และมีแนวโน้มเติบโตที่ดีขึ้นเรื่อยๆ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในทวีปแอฟริกาตอนกลางและทางตะวันตก (African Oil Palm) สามารถแบ่งสายพันธุ์ได้ดังนี้
1. พันธุ์ดูรา (Dura)
|
เป็นพันธุ์ที่มีกะลาหนา ( 2-8 มม.)
มีชั้นเปลือกนอกที่ให้น้ำมัน ประมาณ 35-60% ของน้ำหนักผลปาล์มพันธุ์ดูรานี้พบมากแถบตะวันออกไกล เช่น พันธุ์เดลีดูรา (Deli dura) ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง ปัจจุบันมักใช้เป็นต้นแม่เพื่อผลิตลูกผสม
|
รูปปาล์มพันธุ์ดูรา (Dura)
|
2. พันธุ์ฟิสิเฟอรา (Pisifera)
|
เป็นพันธุ์ที่มีกะลาบางมาก เมล็ดในเล็ก ขนาดผลเล็ก ช่อดอกตัวเมียมักเป็นหมัน ผลผลิต
ต่ำนิยมใช้เป็นต้นพ่อสำหรับผลิตพันธุ์ลูกผสม
|
รูปปาล์มพันธุ์เฟอรา (Pisifera)
|
3. พันธุ์เทเนอรา (Tenera) หรือ DxP
|
เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์แม่ดูรา และพันธุ์พ่อฟิสิเฟอรา เป็นพันธุ์ที่มีกะลาบาง (0.5-4 มม.) มีปริมาณน้ำมัน 60-90% ของน้ำหนักผล ผลผลิตทะลายสูง จึงนิยมปลูกเป็นการค้าในปัจจุบัน
|
รูปพันธุ์เทเนอรา (Tenera) หรือ DxP
|
ที่มา เว็บไซต์ออนไลน์ http://oilpalm.exteen.com/20090522/entry
สำหรับพันธ์ที่ปลูกในประเทศไทย ในปัจจุบันเป็นพันธุ์ปาล์ม Tenera ซึ่งเป็นพันธ์ผสมระหว่างพันธุ์Dura และ Pisifera ปาล์มพันธุ์ Tenere นี้นิยมปลูกกันแพร่หลาย เพราะผลปาล์มมีเนื้อหนาและกะลาบาง
แต่เนื่องจาก ขณะนี้ในประเทศไทยยังไม่มีผู้ใดสามารถเพราะเมล็ดพันธุ์ปาล์ม Tenera ได้ จึงต้องสั่งซื้อเมล็ดพันธุ์ปาล์มชนิดนี้จากประเทศมาเลเชีย
การผลิตปาล์มน้ำมันของไทย
ในระบบการค้าปาล์มน้ำมัน-น้ำมันปาล์ม ในอดีต ประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้องหลัก 3 ฝ่าย คือ
1. ชาวสวนปาล์มน้ำมัน
2. โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ
3. โรงงานกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์
ต่อมาเริ่มมีอีกฝ่ายหนึ่งเข้ามาเกี่ยวข้องในระบบการค้า คือ
4. โรงงานผลิตไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์ ซึ่งเริ่มเป็นผู้ผลิตรายใหม่ที่ใช้น้ำมันปาล์มดิบในวัตถุดิบตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา
รูปขั้นตอนการแปรรูปและการใช้น้ำมันปาล์มในประเทศ
รูประบบอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันของไทย
ที่มา:วรสารธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 140 กันยายน-ตุลาคม 2554
กระบวนการผลิต
กระบวนการแปรรูปและการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ผลปาล์มจากเกษตรกรจะเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมเพื่อแปรรูป ในระบบของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันทั้งระบบปัจจุบันประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้องกัน 4 ฝ่าย
คือ ฝ่ายชาวสวนปาล์มน้ำมัน ฝ่ายโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ ฝ่ายโรงงานกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์และโรงงานไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์ โดยลักษณะการแปรรูปจะแบ่งออกเป็นการสกัดโดยโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม
และการกลั่นเป็นน้ำมันบริสุทธิ์โดยโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม ดังนี้
(1) การสกัดโดยโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ผลปาล์มจากเกษตรกรจะถูกนำมาแปรรูปโดยโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ซึ่งในปี 2550 มีโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มรวมทั้งสิ้น 58 ราย กำลังการผลิต 1,840
ตันผลปาล์มสดต่อชั่วโมง หรือ 14 ล้านตันต่อปี และถ้ารวมโรงหีบ จะมีรวม 64 ราย ในการสกัดผลปาล์มจะได้ผลิตภัณฑ์ คือ
-
น้ำมันปาล์มดิบ (Crude Palm oil) ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่นผลิตน้ำมันปาล์มบริสุทธิ
-
เมล็ดในปาล์ม (Palm Kernel) ใช้เป็นวัตถุดิบสกัดในโรงงานสกัดน้ำมันเมล็ดในปาล์ม
-
เส้นใย (Fibre) ใช้ทำเชื้อเพลิงใช้ในโรงงานสกัดเพื่อใช้ในการนึ่งผลปาล์ม
-
กากเมล็ดในปาล์ม ใช้ผสมอาหารในการเลี้ยง
-
อื่นๆ ได้แก่ กะลา กาก/ตะกอนน้ำมันปาล์มดิบที่ได้ส่วนใหญ่จะป้อนเข้าสู่โรงงานกลั่นน้ำมันบริสุทธิ์ถึงร้อยละ 85-87 ป้อนเข้าสู่โรงงานสบู่และอาหารสัตว์ประมาณร้อยละ 3-5 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 10 จะใช้ใน
อุตสาหกรรมไบโอดีเซลและส่งออกต่างประเทศ
(2) การกลั่นโดยโรงงานกลั่นน้ำมัน น้ำมันปาล์มดิบจากเนื้อปาล์มและน้ำมันเมล็ดในปาล์มดิบซึ่งป้อนเข้าสู่โรงกลั่นให้บริสุทธิ์จะถูกนำมากลั่นเป็นน้ำมันบริสุทธิ์ ในปี 2550 มีโรงกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ของไทย
ที่เปิดดำเนินงานรวม 9 ราย รวมกำลังการผลิต 3,660 ตันน้ำมันปาล์มดิบ/วัน โดยถ้าแยกส่วนก่อนการกลั่นจะได้ผลิตภัณฑ์เป็น Crude Olein และ Stearin (ไขปาล์ม) สำหรับขบวนการกลั่นจะได้ผลิตภัณฑ์
- น้ำมันบริสุทธิ์ไม่แยกไข (Refined Bleached and Deodorized Palm Oil: RBD Palm Oil) นำไปใช้ทอดบะหมี่ ทำนมข้น ไอศกรีม โดยถ้านำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปแยกไขปาล์มออกจะได้เป็น 2 ผลิตภัณฑ์ คือ
-
น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ใส (RBD Palm Olein) นำไปใช้ทอดบริโภคในครัวเรือน หรือร้านอาหารทั่วๆไป
-
ไขปาล์มบริสุทธิ์ (RBD Palm Sterin) ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ไบโอดีเซล เนยเทียมและไขมันผสม เป็นต้น
- น้ำมันเมล็ดในปาล์มบริสุทธิ์ไม่แยกไข (Refined Bleached and Deodorized Palm Kernel Oil : RBD Palm Oil ) ซึ่งนำไปผลิตครีมเทียม ไอศกรีม เป็นต้น
- กรดไขมันปาล์ม (Palm Fatty Acid) ซึ่งเป็นผลพลอยได้ ใช้ในอุตสาหกรรม Oleochemical (อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์) เช่น สบู่ ยาสระผม ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกาย โดยผลิตภัณฑ์
กรดไขมันนี้ มีหลายผลิตภัณฑ์ เช่น Stearic acid ใช้ในอุตสาหกรรมยาง พลาสติก เครื่องสำอาง เทียนไข ซีเมนต์กันน้ำ น้ำมันหล่อลื่น จารบี ส่วน Oleic acid อุตสาหกรรมที่นำไปใช้ คือ เครื่องสำอาง
เภสัชกรรม เคมีภัณฑ์สำหรับสิ่งทอ สีเรซิ่น เป็นต้น
รูปกระบวนการแปรรูปผลปาล์ม
รูปการใช้ประโยชน์จากปาล์ม

รูปกระบวนการกลั่นน้ำมันปาล์ม
แนวโน้มสถานการณ์ปาล์มน้ำมัน ปี 2556
1. แนวโน้มปาล์มน้ำมันของโลก
ตารางบัญชีสมดุลน้ำมันปาล์มโลก ปี 2550/51-2554/55 (หน่วย: ล้านตัน)
.jpg)
กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) คาดการณ์ว่าผลผลิตน้ำมันปาล์มปี 2556 เพิ่มขึ้นจาก50.70 ล้านตัน ในปี 2555 เป็น 53.33 ล้านตัน ในปี 2556 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.19 เนื่องจากประเทศผู้ผลิตรายใหญ่
ได้แก่ อินโดนีเซียและมาเลเซีย ขยายเนื้อที่เพาะปลูกมากขึ้น
(1) ความต้องการใช้ คาดว่าโลกมีความต้องการใช้น้ำมันปาล์ม 52.09 ล้านตันเพิ่มขึ้นจาก 49.00 ล้านตัน ในปี 2555 ร้อยละ 6.31เนื่องจากความต้องการด้านอาหารและด้านพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น
- (2) ราคา คาดว่าราคาน้ำมันปาล์ม ในตลาดโลกจะลดลงอยู่ในระดับเฉลี่ยตันละ2,600- 2,700 ริงกิต (26.00-27.00 บาทต่อกิโลกรัม) เนื่องจากปริมาณสต็อกน้ำมันปาล์มดิบคงเหลือมีปริมาณสูง ประกอบกับ
ประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ คือ อินโดนีเซียและมาเลเซียผลิตน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้น และทั้งสองประเทศได้มีนโยบายปรับลดภาษีการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบ จึงส่งผลทำให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบปรับตัวลดลงตาม
- (3) การส่งออก คาดว่ามีปริมาณการส่งออกน้ำมันปาล์ม 40.71 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 38.45 ล้านตัน ในปี 2555 ร้อยละ 5.88 เนื่องจากคาดว่าราคาน้ำมันปาล์มจะปรับลดลง กระตุ้นให้ปริมาณความ
ต้องการใช้ เพื่อการบริโภคเพิ่มขึ้น
- (4) การนำเข้า คาดว่ามีปริมาณการนำเข้าน้ำมันปาล์ม 39.91 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 37.87 ล้านตัน ในปี 2555 ร้อยละ 5.39 เนื่องจากมีปริมาณความต้องการใช้น้ำมันปาล์มเพิ่มมากขึ้น
สำหรับสต็อกคงเหลือ คาดว่าจะมีปริมาณ 7.04 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 6.60 ล้านตัน ในปี 2555 ร้อยละ 6.67
ตารางราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดโลก ปี 2551-2555

ตารางอุปสงค์ อุปทาน น้ำมันปาล์ม รายประเทศ ปี 2550/51-2554/55 (หน่วย: ล้านตัน)

ที่มา: Oilseeds: World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, November 2012
แนวโน้มปาล์มน้ำมันของไทย
ปี 2556 คาดว่าจะมีเนื้อที่ให้ผล 4.11 ล้านไร่ ผลผลิต 12.02 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 2,925 กิโลกรัมเพิ่มขึ้นจากเนื้อที่ให้ผล 3.98 ล้านไร่ ผลผลิต 11.33 ล้านตันและผลผลิตต่อไร่ 2,844 กิโลกรัม
ในปี 2555 คิดเป็นร้อยละ 3.27 ร้อยละ 6.09 และร้อยละ 2.85 ตามลำดับ เนื่องจากปาล์มน้ำมันที่ปลูกใน ปี 2551-2553 เริ่มให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาผลปาล์มน้ำมันยังอยู่ในเกณฑ์ดี เกษตรกร
ดูแลรักษาใส่ปุ๋ยสม่ำเสมอและสภาพดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวย
ตารางเนื้อที่ยืนต้น เนื้อที่ให้ผล ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ปาล์มน้ำมันของไทย ปี 2551-2556

- ความต้องการใช้ ปี 2556 คาดว่าความต้องการใช้ เพื่อการบริโภคมีปริมาณ 1,000,000 ตัน สำหรับการใช้เพื่อผลิตไบโอดีเซล (B100) กระทรวงพลังงานยังคงสัดส่วนการผสมน้ำมันปาล์มในน้ำมันดีเซล
เป็นร้อยละ 5 โดยประมาณการความต้องการใช้ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา 610,000 ตัน และคาดว่าความต้องการใช้ ภายในประเทศมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 1.61 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2555 ร้อยละ 0.17
-
ราคา ปี 2556 คาดว่าราคาผลปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์มจะใกล้เคียงกับปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ราคากิโลกรัมละ 4.00 - 5.00 บาท น้ำมันปาล์มดิบเคลื่อนไหวตามราคาตลาดโลกกิโลกรัมละ25.00–26.00 บาท
-
การส่งออก ปี 2556 คาดว่าปริมาณการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบใกล้เคียงกับ ปี 2555 ในระดับ 300,000 ตัน เนื่องจากคาดว่าราคาน้ำมันปาล์มในประเทศสูงกว่าราคาตลาดโลก
ตารางราคาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ปี 2551-2555 (หน่วย:บาท/กิโลกรัม)

แนวโน้มถั่วเหลืองปี 2556
ตารางสมดุลเมล็ดถั่วเหลืองโลก

ปี 2555/56 คาดว่าโลกผลิตเมล็ดถั่วเหลืองได้ 267.60 ล้านตันเพิ่มขึ้นจาก 239.22 ล้านตันของปี 2554/55 ร้อยละ11.86 เนื่องจากบราซิลและอาร์เจนตินามีการขยายพื้นที่ปลูก และมีผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น
โดยในปี 2555/56 คาดว่าบราซิลและอาร์เจนตินาสามารถผลิตถั่วเหลืองได้ 81.00 ล้านตัน และ 55.00 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 66.50 ล้านตัน และ 41.00 ล้านตัน ของปี 2554/55 ร้อยละ 21.80 และ 34.14 ตามลำดับ
(1) ความต้องการใช้ ปี 2555/56 คาดว่าความต้องการใช้เมล็ดถั่วเหลืองเพื่อสกัดน้ำมันมีปริมาณ 231.14 ล้านตันเพิ่มขึ้นจาก 226.71 ล้านตันของปี 2554/55 ร้อยละ 1.95 เนื่องจากความต้องการใช้
เพื่อการอุปโภคบริโภคของโลกยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจีนที่มีนโยบายส่งเสริมให้สกัดน้ำมันถั่วเหลืองใช้ภายในประเทศ เพื่อเพิ่มมูลค่าในรูปของผลผลิตกากและน้ำมัน สนองตอบความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น
ตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
(2) ราคา ปี 2555/56 คาดว่าราคาเมล็ดถั่วเหลืองในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยในปี 2555/56 ราคาเมล็ดถั่วเหลืองในตลาดสหรัฐอเมริกาปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 561 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน
โดยเพิ่มขึ้นจากราคาเฉลี่ยของปี 2554/55 ซึ่งอยู่ระดับ 505 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันคิดเป็น ร้อยละ 11.09
(3) การส่งออก ปี 2555/56 คาดว่าสหรัฐอเมริกาสามารถส่งออกเมล็ดถั่วเหลือง ได้เป็นอันดับ 2 ของโลก มีปริมาณส่งออก 36.60 ล้านตัน ลดลงจาก 37.06 ล้านตัน ของปี 2554/55 ร้อยละ1.24 เนื่องจาก
การลดลงของผลผลิตประกอบกับมีความต้องการใช้น้ำมันถั่วเหลืองภายในประเทศมากขึ้น ขณะที่ประเทศบราซิลและประเทศอาร์เจนตินาผู้ส่งออกอันดับ 1 และ 3 ของโลก ส่งออกได้มากขึ้นตามความต้องการ
ซื้อจากจีน โดยมีปริมาณส่งออก 37.40 ล้านตัน และ 12.00 ล้านตัน ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจาก 36.31 และ 7.37 ล้านตัน ของปี 2554/55 ร้อยละ 3.00 และ 62.82 ปัจจัยบวกดังกล่าว ส่งผลให้ปี 2555/56
การส่งออกของโลกมีปริมาณ 98.55 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 90.33 ล้านตัน ของปี 2554/55 ร้อยละ 9.10 โดยปริมาณสต็อกถั่วเหลืองของโลกเพิ่มขึ้นจาก 56.00 ล้านตัน ในปี 2554/55 เป็น 60.02 ล้านตัน ในปี 2555/56
(4) การนำเข้า ปี 2555/56 คาดการณ์ว่าการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองโลกมีปริมาณ 96.01 ล้านตัน เพิ่มขึ้น จาก 92.51 ล้านตัน ของปี 2554/55 ร้อยละ 3.78 โดยจีนนำเข้ามากที่สุด 63.00 ล้านตัน
เพิ่มขึ้นจาก 59.23 ล้านตัน ของปี 2554/55 คิดเป็นร้อยละ 6.37 ของปริมาณการนำเข้าโลก
ราคาเมล็ดถั่วเหลืองตลาดโลก (หน่วย:ตัน/ดอลลาร์สหรัฐ)

แนวโน้มถั่วเหลืองของไทย
เนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตถั่วเหลืองยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้มีสาเหตุจากการขาด แคลนเมล็ดพันธุ์ดี และให้ผลตอบแทนต่ำกว่าพืชแข่งขันอื่นๆ อาทิ ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ คาดว่าปี 2556
จะมีเนื้อที่เพาะปลูก 0.40 ล้านไร่ ผลผลิต 0.10 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 262 กิโลกรัม
- การตลาด
- (1) ความต้องการใช้ ปี 2556 คาดว่าความต้องการใช้เมล็ดถั่วเหลืองภายในประเทศ มีปริมาณ 2.03 ล้านตัน ลดลงจาก 2.07 ล้านตันของปี 2555 ร้อยละ 1.93 โดยในปี 2556
มีสัดส่วนการใช้ผลผลิต ภายในประเทศร้อยละ 5.14 และนำเข้าร้อยละ 94.86 ของความต้องการใช้ทั้งหมด
- (2) ราคา ปี 2556 คาดว่าราคาเมล็ดถั่วเหลืองมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2555 โดยราคาเมล็ดถั่วเหลืองคละเกรดที่เกษตรกรขายได้อยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 17.00 - 18.50 บาท
- (3) การส่งออก ปี 2556 คาดว่า ปริมาณการส่งออกเมล็ดถั่วเหลืองของไทย จะอยู่ในระดับที่ใกล้เคียง กับปีที่ผ่านมา ซึ่งมีปริมาณการส่งออกถั่วเหลืองระหว่าง 2,000 - 2,500 ตันต่อปี
โดยเป็นการส่งออกเมล็ด ถั่วเหลืองสายพันธุ์ธรรมชาติ (Non-GMOs) ที่ผลิตได้ภายในประเทศ และตลาดส่งออกส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย
- (4) การนำเข้า การนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามการขยายตัวของเศรษฐกิจคาดว่าปี 2556 มีปริมาณนำเข้า 1.92 ล้านตัน ลดลงจาก 1.96 ล้านตัน ของปี 2555 ร้อยละ 2.04
เนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ของไทย

ราคาถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ของไทย

สมดุลเมล็ดถั่วเหลืองของไทย (หน่วย: ตัน)

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคา และการผลิตถั่วเหลือง
- สถานการณ์ภัยแล้ง ปี 2556 คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการผลิตถั่วเหลืองของไทย เนื่องจากถั่วเหลืองส่วนใหญ่ปลูกในช่วงฤดูแล้งหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปี โดยมีสัดส่วนเนื้อที่ ประมาณร้อยละ 70
ของเนื้อที่เพาะปลูกทั้งหมด และเก็บเกี่ยวในช่วงปลายเดือนมีนาคม ถึงกลางเดือนเมษายน
- สถานการณ์คลื่นความร้อนของสหรัฐอเมริกา จากสถานการณ์คลื่นความร้อนที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2555 ส่งผลทำให้
-
ปริมาณผลผลิตถั่วเหลืองของสหรัฐปรับตัวลดลง เนื่องจาก อุณหภูมิที่สูงขึ้นเป็นช่วงระยะเวลานานส่งผลทำให้พืชผลด้านการเกษตรของสหรัฐโดยเฉพาะ ถั่วเหลือง และข้าวโพดเหี่ยวเฉา
ร่วงโรย ยืนต้นตายทั่วพื้นที่ตะวันตกตอนกลางของสหรัฐ ซึ่งถือได้ชื่อว่าแหล่งผลิตพืชอาหารที่สำคัญของประเทศ
-
ราคาธัญพืช ราคาอาหาร และราคาพลังงานปรับสูงขึ้นจากสถานการณ์คลื่นความร้อนที่เกิดขึ้นในพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองและข้าวโพดของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในเขตที่ราบตอนกลาง ส่งผล
ทำให้ราคา ถั่วหลืองและข้าวโพดปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยตลาดโภคภัณฑ์ CBOT เมืองชิคาโก คาดว่า ราคาถั่วเหลืองในปี 2556 จะมีการปรับตัวสูงขึ้น อยู่ระหว่าง 550 – 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ต่อตัน (17.05 – 18.60 บาท/กิโลกรัม) เพราะสหรัฐเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีและถั่วเหลืองมากที่สุดในโลก และส่งออกข้าวโพดกว่าครึ่งของตลาดส่งออกโลก ซึ่งนำไปใช้ผลิต
ผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ แป้งข้าวโพด, เอทานอล และอาหารสัตว์
-
การปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาถั่วเหลืองและข้าวโพด ส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตอุตสาหกรรมปศุสัตว์ทั้งไก่และสุกรของไทยปรับตัวสูงขึ้น
ความต้องการใช้เมล็ดถั่วเหลืองของไทย

จากตาราง จะเห็นว่าประเทศไทยยังคงมีความต้องการใช้น้ำมันถั่วเหลืองในอุตสาหกรรมการสกัดน้ำมันพืชมากที่สุด ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ ได้แก่
1) น้ำมันถั่วเหลืองเพื่อใช้บริโภค และใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ได้แก่ สีทาบ้าน ปลาทูน่ากระป๋อง น้ำพริกเผา น้ำสลัด
2) กากถั่วเหลือง ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ และนำมาผลิตอาหารเพื่อบริโภค รองลงมาจะเป็นการแปรรูปซึ่งมีผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ แป้งถั่วเหลือง น้ำนมถั่วเหลือง เต้าหู้ฟองเต้าหู้ ถั่วเหลืองงอก ซีอิ้ว
เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ และถั่วเน่า ส่วนการนำมาทำพันธุ์และการส่งออกจะมีปริมาณน้อยมาก เนื่องจากประเทศมีนโยบายสนับสนุนการใช้ผลผลิตจากน้ำมันปาล์มมากขึ้นทั้งในรูปของการบริโภคและพลังงานทดแทน