สถิติ
เปิดเมื่อ22/10/2013
อัพเดท30/10/2013
ผู้เข้าชม236005
แสดงหน้า332592
สินค้า
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี

เมื่อ 30/10/2013 20:12

อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี

ผลผลิตทางการเกษตร มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากประเทศไทยเป็น
ประเทศเกษตรกรรม ดังนั้นการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับประเทศเกษตรกรรมซึ่งมีอยู่
หลายวิธีได้แก่ การปรับปรุงเมล็ดพันธ์พืชชนิดใหม่การใช้ยาปราบศัตรูพืช และการใส่ปุ๋ยเป็นต้น โดยสิ่งเหล่านี้จะ
เป็นปัจจัยการผลิต
ที่ทำให้ผลผลิตต่อไร่ของพืชสูงขึ้นตามความต้องการ
 
จากปัจจัยข้างต้นจะเห็นว่าปุ๋ยเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
ด้วยเหตุนี้การศึกษาถึงลักษณะทั่วไปทางด้านการผลิตและการตลาดของ อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีจึงเป็น
สิ่งสำคัญเพื่อเป็นกรอบแนวคิดเบื้องต้นในการกำหนดปัจจัยทางด้านอุปสงค์
และปัจจัยทางด้านอุปทาน 
อันเป็นสาเหตุทำให้ราคาสินค้าปุ๋ยเคมีเปลี่ยนแปลงด้วย

 
      
                                      รูปชนิดของปุ๋ย 

ความหมายของปุ๋ย

'ปุ๋ย' ตามความหมายของพระราชบัญญัติปุ๋ยแห่งชาติ พ.ศ. 2518 หมายถึง สารอินทรีย์หรือ
อนินทรีย์ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือทำขึ้นก็ตามสำหรับใช้เป็นธาตุอาหารแก่พืชได้หรือไม่ว่า
และโดยวิธีใดหรือ
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดินเพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืช 
พระราชบัญญัติปุ๋ยแห่งชาติ พ.ศ.2518 
(พระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับแก้ไข) พ.ศ.2550)  จัดทำขึ้น
เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรไทยไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ
จากพ่อค้าคนกลางและได้ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารครบ
และมีคุณภาพเหมาะสมกับราคา
 
ดังนั้น ปุ๋ย หมายถึง สารหรือธาตุอาหาร ที่ใส่ลงไปในดินเพื่อให้พืชเจริญเติบโตให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
และได้ปริมาณสูง ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืชมีอยู่ทั้งหมด 16 ธาตุ ได้แก่ คาร์บอน
(C),ไฮโดรเจน (H), ออกซิเจน (O),
ไนโตรเจน (N), ฟอสฟอรัส (P), โพแทสเซียม (K) , แคลเซียม (Ca),
แมกนิเซียม 
(Mg), กำมะถัน (S),(Fe), แมงกานิส (Mn), โบรอน (B), โมลิปดินัม (Mo), ทองแดง (Cu),
สังกะสี (Zn) และครอลีน (Cl) โดยทั่วไปแล้วธาตุอาหารเหล่านี้จะมีอยู่ในอากาศ
และในดินซึ่งเพียงพอ
ต่อความต้องการของพืช แต่ธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการมากที่สุด 
คือ ไนโตรเจน (N),ฟอสฟอรัส (P)
และโพแทสเซียม (K) ที่มีในดินมักจะไม่เพียงพอต่อ
ความต้องการ จึงต้องทำการใส่ปุ๋ยลงไปในดิน
เพื่อเพิ่มธาตุอาหาร 
ทั้ง 3 ชนิด ให้เพียงพอกับความต้องการของพืช ซึ่งแต่ละชนิดจะมีหน้าที่สำคัญ ดังนี้

1 .ธาตุไนโตรเจน เป็นธาตุอาหารที่พืชมีความต้องการเป็นจำนวนมาก เพราะธาตุไนโตรเจน
เป็น
ส่วนประกอบที่สำคัญของกรดอะมิโนซึ่งจะเสริมสร้างโปรตีนที่มีอยู่ในพืช ช่วยทำให้พืช
เจริญเติบโต
อย่างรวดเร็ว เมื่อพืชได้รับธาตุไนโตรเจนอย่างเพียงพอ จะทำให้ใบมีสีเขียวสด
แข็งแรง 
โตเร็วและให้ดอกและผลที่สมบูรณ์ ถ้าเป็นพืชที่เรานำเอาใบมารับประทานจะทำให้อวบ
กรอบ 
มีเส้นใยน้อยและมีน้ำหนักดี  แต่หากพืชได้รับธาตุไนโตรเจนมากจนเกินความต้องการไป
จะเกิด
ผลเสีย เช่น ทำให้อวบน้ำมาก ลำต้นอ่อนล้มง่าย โรคและแมลงเข้ามารบกวนหรือ
ทำลายง่าย เป็นต้น 
ในทางกลับกัน ถ้าพืชขาดธาตุไนโตรเจนแล้ว จะทำให้ต้นแคระแกรน
ใบเหลืองผิดปกติและเหี่ยวเฉา
ออกดอกและผลช้า

2. ธาตุฟอสฟอรัส เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสารประกอบพวก นิวคลีโอโปรตีน (nucleoprotein) 
และฟอสโฟลิพิด (phospholipids) ซึ่งจะมีอยู่ในเมล็ดของพืชทุกชนิด โดยสารประกอบทั้งสองนี้
เป็นส่วนของโครงสร้างของโปรตีนและเซลล์พืช  นอกจากนี้ยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ในเอนไซม์
หลายชนิดที่จำเป็นต่อกระบวนการเมตาบอลิซึมของพืช ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของฟอสเฟต
เช่น H2PO4- และ HPO42 -โดยจะละลายกับน้ำที่อยู่ในดิน โดยปกติแล้วพืชจะต้องการธาตุ
ฟอสฟอรัสน้อยกว่า ธาตุไนโตรเจน  แต่ในดินมักมีธาตุฟอสฟอรัสหรือฟอสเฟตที่ละลายน้ำไม่เพียง
พอกับความต้องการ จึงต้องใส่ปุ๋ยที่มีธาตุฟอสฟอรัส  เพื่อให้พืชได้รับธาตุฟอสฟอรัสอย่างเพียงพอ
ซึ่งจะช่วยให้พืชมีระบบรากที่แข็งแรง แพร่กระจายอยู่ในดินอย่างกว้างขวาง สามารถดูดน้ำ
และธาตุอาหารได้ดี การออกดอกและผลจึงเกิดเร็ว ในทางกลับกันถ้าพืชขาดธาตุฟอสฟอรัส
จะทำให้ต้นแคระแกรน ใบมีสีเขียวคล้ำ รากจะชะงักการเจริญเติบโตไม่สามารถออกดอกและผลได้

3. ธาตุโพแทสเซียม เป็นธาตุอาหารที่มีความสำคัญในกระบวนการสร้างแป้ง และน้ำตาล เพื่อไป
เลี้ยงส่วนต่างๆของพืชให้เจริญเติบโต การสร้างคลอโรฟิลล์ สร้างเนื้อไม้ที่แข็งของลำต้นช่วยเสริม
สร้างการเจริญเติบโตของรากและหัวและทำให้ผลไม้มีรสหวานคุณภาพดีเส้นใยน้อย ดังนั้นพืชจำพวก
อ้อยมะพร้าว และมัน จึงต้องการธาตุโพแทสเซียมมาก นอกจากนี้ยังช่วยให้ใบมีประสิทธิภาพในการ
ดูดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ในทางกลับกัน ถ้าพืชขาดธาตุนี้ จะทำให้เมล็ดลีบและมีน้ำหนักเบาผิด
ปกติ หากเป็นไม้ผลรสชาติจะกร่อย ใบเหลือง เหี่ยวง่าย และลำต้นแคระแกรน ปกติแล้วพืชจะใช้ 
ธาตุโพแทสเซียมได้เมื่ออยู่ในรูปของไอออน K+เท่านั้น ถ้าอยู่ในรูปอื่นๆ ถึงแม้ว่า พืชจะได้รับ
ธาตุโพแทสเซียมเข้าไปก็ยังคงนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้


ที่มา:หลักการใช้ปุ๋ยเคมีให้ได้ผลดี (www.guru.sanook.com/encyclopedia/)

ประเภทของปุ๋ย

โดยทั่วไปแล้วปุ๋ยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. ปุ๋ยอินทรีย์ คือ ปุ๋ยที่ได้จากการหมักวัสดุจากพืชหรือสัตว์ โดยผ่านกระบวนการทาง
ธรรมชาติ ซึ่งปุ๋ยอินทรีย์นั้นจะให้ธาตุอาหารพืชครบทุกธาตุ มากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับวัสดุที่
นำมาใช้ผลิตซึ่งเราอาจจำแนกปุ๋ยอินทรีย์ออกเป็นประเภทต่างๆ ตามวัตถุดิบในการผลิตดังนี้
1.1 ปุ๋ยคอก คือ ปุ๋ยที่ได้จากมูลของสัตว์ ได้แก่ หมู ไก่ วัว เป็นต้น เป็นปุ๋ยที่นิยมใช้กันอย่าง
แพร่หลายในสวนผักและสวนผลไม้ ปุ๋ยคอกจะช่วยปรับปรุงดินให้โปร่งและร่วนซุย ทำให้การเตรียม
ดินง่าย    
1.2 ปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยที่ได้จากการนำเศษหรือซากพืชมากอง หมักร่วมกัน รดน้ำและย้ำให้แน่น 
ให้ความชื้นสม่ำเสมอมีการกลับกองคลุกเคล้าเป็นครั้งคราว อาจมีมูลสัตว์ ปุ๋ยเคมีและสารเร่งร่วมด้วย 
เพื่อให้ได้ปุ๋ยหมักคุณภาพดีและนำมาใช้ได้อย่างรวดเร็วขึ้น เมื่อปุ๋ยหมักสลายตัวโดยสมบูรณ์แล้ว 
จึงนำไปใช้ในการปลูกพืช ซึ่งสามารถทำเองได้
1.3 ปุ๋ยสด คือ ปุ๋ยได้จากการปลูกพืชเพื่อบำรุงดิน จากนั้นทำการไถกลบเมื่อพืชเจริญเติบโต
มากที่สุด คือ ช่วงที่พืชกำลังออกดอก โดยจะไถกลบขณะที่ยังสดลงไปในดิน ปล่อยให้ย่อย
สลายระยะหนึ่ง
แล้วจึงทำการปลูกพืชหลักตามส่วนใหญ่จะนิยมปลูกพืชตระกูลถั่วเนื่องจาก
เป็นพืชที่ปลูกง่าย
และสามารถดูดธาตุไนโตรเจนจากอากาศได้ เช่นถั่ว พุ่มถั่ว เขียวถั่วลาย เป็นต้น
 
2. ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ คือ ปุ๋ยที่ได้มาจากการผลิตหรือสังเคราะห์ทางอุตสาหกรรมจากแร่ธาตุต่างๆ
ที่ได้ตามธรรมชาติหรือเป็นผลพลอยได้ของโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด ส่วนใหญ่ จะสังเคราะห์
มาจากก๊าซไนโตรเจนในอากาศ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันปิโตเลียม หินฟอสเฟต และแร่โพแทสเซียมชนิดต่างๆ
ในปัจจุบันเกษตรกรไทยนิยมใช้ปุ๋ยเคมีในการเพิ่มผลผลิตในการปลูกพืชมากขึ้นกว่าอดีตและปุ๋ยเคมีส่วนใหญ่
นำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นเกษตรกรไทยจึงจำเป็นต้องรู้ความหมายของศัพท์บางคำที่ใช้เกี่ยวข้องกับ
ปุ๋ยเคมี เพื่อจะได้ใช้ปุ๋ยเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งศัพท์ที่สำคัญ มีดังต่อไปนี้คือ

 

เกรดปุ๋ย 
 

ปัจจุบัน ปุ๋ยเคมีที่ขายในท้องตลาดมีมากมายหลายชนิด หลายตราทั้งปุ๋ยเชิงเดี่ยวเชิงผสมและเชิงประกอบ
อยู่ในผลึก เม็ด เกร็ด ผง และน้ำ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ขายและผู้ซื้อ นักวิชาการเรื่อง ดินปุ๋ย จึงได้กำหนด
 
“เกรดปุ๋ย” ขึ้นมา เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบที่วางไว้ สูตรหรือเกรดปุ๋ย (fertilizer analysis 
หรือ fertilizer grade) หมายถึงการบอกการรับประกันปริมาณธาตุอาหารปุ๋ยขั้นต่ำที่สุดที่มีอยู่ในปุ๋ยนั้น ๆ จะบอก
เป็น
เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (total nitrogen) ปริมาณฟอสฟอริกแอซิค (P2O5) 
ที่เป็นประโยชน์ (available P2O5) และปริมาณโปตัสเซียม (K2O) ที่ละลายน้ำได้ (water soluble potash) 
ที่มา: คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541
 
ปุ๋ยเคมีที่จำหน่ายตามท้องตลาด ที่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 บนภาชนะที่บรรจุปุ๋ย
จะต้องมีตัวเลขแสดงเกรดปุ๋ยให้ชัดเจนประกอบด้วยตัวเลข 3 ชุด แต่ละชุดจะมีเครื่องหมาย “-” แยกตัวเลขไว้
โดยตัวเลข
แต่ละชุดจะเป็นตัวเลขจำนวนเต็มไม่มีจุดทศนิยม เช่น ปุ๋ยสูตร 46-0-0, 21-0-0, หรือ
13-13-21 เป็นต้น
สามารถอธิบายได้ดังนี้
- ตัวเลขชุดแรก จะบอกปริมาณเป็นร้อยละของธาตุไนโตรเจน (N) ทั้งหมด ในปุ๋ย100 กิโลกรัม
ตัวเลขชุดที่สอง จะบอกปริมาณเป็นร้อยละของธาตุฟอสฟอรัสในรูปของฟอสเฟต (PO4)
  ที่เป็นประโยชน์ (available P2O5) ในปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม ตัวเลขชุดที่สาม จะบอกปริมาณ
  เป็นร้อยละของธาตุโพแทสเซียม (K)ในรูปของโพแทสเซียมที่ละลายน้ำ (water soluble K2O) ในปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม

 
เรโซปุ๋ย หมายถึง สัดส่วนอย่างต่ำซึ่งเป็นเลขลงตัวน้อยระหว่างปริมาณของธาตุไนโตรเจนทั้งหมด (N) 
ฟอสฟอริกแอซิคที่เป็นประโยชน์ (P2O5) และโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ (K2O) เช่น สูตรปุ๋ย 30 – 30 – 30,
17 – 17 – 17, และ 15 – 15 – 15 จะมีเรโซปุ๋ยเท่ากันคือ 1 : 1 : 1 เป็นต้น

ตัวอย่างการตำนวณหาเรโช


ที่มา: การหาเรโชของปุ๋ย
(ปฐพีวิทยาเบื้องต้น)
 
การดูดความชื้น ปุ๋ยเคมีโดยทั่วไปสามารถที่จะดูดความชื้นได้ ทำให้ปุ๋ยชื้นหรือบางทีละลาย
และจับตัวกันเป็นของแข็ง อย่างไรก็ตามปุ๋ยแต่ละชนิดจะชื้นได้ยากง่ายต่างกัน และสภาพอากาศ
ร้อนชื้นก็มีส่วนช่วยให้ปุ๋ยชื้นง่ายยิ่งขึ้นนอกจากนี้ การเอาปุ๋ยต่างชนิดกันมาผสมกันจะยิ่งทำให้ปุ๋ยชื้น
ได้ง่ายมากขึ้น เช่นกัน ดังนั้นการเก็บปุ๋ยไม่ควรเก็บในที่อับร้อนชื้น และถ้าเปิดถุงใช้แล้วควรปิดให้มิดชิด
 
ความเค็มปุ๋ยเคมี โดยทั่วไปเป็นเกลือ ดังนั้นจึงมีความเค็ม ซึ่งถ้าใส่ให้กับพืชครั้งละมากๆ
และใส่ใกล้รากอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อพืชได้ ปุ๋ยแต่ละชนิดมีความเค็มมากน้อยต่างกัน
เราอาจจะสังเกต
ได้ง่าย ๆ คือ ปุ๋ยที่ละลายน้ำดีละลายน้ำง่ายและละลายน้ำได้ทั้งหมด โดยปกติ
จะมีความเค็มมาก
ปุ๋ยที่ละลายช้าหรือละลายได้ไม่หมดมักจะมีความเค็มน้อย
 
ตารางแสดงค่าดัชนีความเค็ม (Salt Index) ของปุ๋ยบางชนิด
       
ที่มา: (
ปฐพีวิทยาเบื้องต้น)

 
ความเป็นกรด – ด่าง ปุ๋ยบางชนิดเมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ มีผลตกค้างทำให้ดิน
เป็นกรดหรือเป็นด่าง ปุ๋ยไนโตรเจนมักให้ผลตกค้างเป็นกรด ส่วนปุ๋ยที่มีแคลเซียม หรือโซเดียมมาก ๆ 
มักจะทำให้ผลตกค้างเป็นด่าง อย่างไรก็ตามผลอันนี้มักเกิดขึ้นน้อยโดยเฉพาะกับดินที่เป็นดิน
เหนียว
ชนิดของปุ๋ยเคมีปุ๋ยเคมีที่เกษตรกรนิยมใช้ในการเพิ่มผลผลิตของพืชมีรูปร่างอยู่หลาย
ประเภทขึ้นอยู่กับ
ความต้องการใช้ของเกษตรกรสามารถจำแนกตามคุณสมบัติทางกายภาพได้ดังนี้

ปุ๋ยผง (power) 
หมายถึงปุ๋ยเคมีที่ทำการบดให้ละเอียดอยู่ในรูปผง โดยใช้ตะแกรงร่อนเพื่อให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ
ปุ๋ยเกร็ด (crystal) ที่อยู่ในรูปผงหรือผลึกซึ่งมีความบริสุทธิ์สูง ละลายน้ำได้หมด ราคาแพงนิยมใช้เป็น
ปุ๋ยทางใบปุ๋ยน้ำ (solution) หมายถึงปุ๋ยที่อยู่ในรูปของของเหลวไม่มีสิ่งเจือปนหรือตกตะกอน

ลักษณะของตลาดปุ๋ยเคมี

จากผลการศึกษาวิจัยตลาดปุ๋ยเคมีของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2554) พบว่า
ตลาดปุ๋ยเคมีในประเทศไทยมีลักษณะกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition) 
คือ ผู้ประกอบการนำเข้าปุ๋ยเคมีมาจำหน่ายมีจำนวนมากผู้ซื้อและผู้ขายต่างมีอิสระในการซื้อขาย
และผู้ขายมีการรวมกลุ่มในการกำหนดราคาขาย เป็นเหตุให้ผู้ขายสามารถผูกขาดได้อย่างกลายๆ
แต่ไม่สามารถทำการผูกขาดได้อย่างเด็ดขาด เนื่องจากปุ๋ยมีความแตกต่างกันตามสูตรและตรา
ผู้ซื้อจึงสามารถเลือกซื้อปุ๋ยตามตราที่ชอบและเลือกใช้สูตรที่ทดแทนกันได้
จากผลการศึกษา พบว่าระบบตลาดปุ๋ยเคมี ประกอบด้วย ผู้นำเข้า ผู้ผลิต ตัวแทนจำหน่าย/ขายส่ง
ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์การเกษตร
เพื่อตลาดลูกค้า ธกส. (สกต.) กลุ่มเกษตรกรและร้านขายปลีก

สำหรับวิถีการตลาด มีการส่งผ่านปุ๋ยจากผู้นำเข้าถึงเกษตรกร โดยผ่านตัวแทนจำหน่าย/ผู้ขายส่ง
สูงสุดร้อยละ 87 
ปัจจุบัน มีปุ๋ยเคมีที่ขึ้นทะเบียนแล้วกับกองควบคุมพืชและวัสดุทางการเกษตร
มีมากกว่า 300 สูตร 
ผู้ผลิตจะผลิตสูตรใดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดหรือการวิจัย
และพัฒนาของผู้ผลิตหรือ
แต่ละบริษัทในแต่ละเดือนจะมีผู้ผลิตมาขอขึ้นทะเบียนปุ๋ยกับกองควบ
คุมพืชและวัสดุทางการเกษตร
อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการผลิตโดยส่วนใหญ่จะเป็นการปรับอัตราส่วน
ของปุ๋ยเดี่ยว แล้วนำมาผสมกันให้ได้
สูตรตามต้องการเท่านั้น โดยมีข้อกำหนดทางกฎหมายคือ
ธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ
โปแตสเซียม ทั้งสามธาตุอาหารรวมกันต้องไม่ต่ำกว่า
ร้อยละ 20 ขึ้นไปก็สามารถจดทะเบียน
เป็นปุ๋ยเคมีสูตรใหม่ได้ตามต้องการชนิดของปุ๋ยเคมี
ที่เกษตรกร
นิยมใช้ จะทำการแยกตามประเภทผลผลิตพืช (ชัยทัศน์ วันชัย, 2541) คือ

ข้าว ส่วนใหญ่เกษตรกรนิยมใช้ ปุ๋ยสูตร 16-20-0, 16-16-18, 16-12-8, 16-8-0, 20-10-6
ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) และปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต (21-0-0) เป็นปุ๋ยเคมีที่มีเลขตัวหน้า และเลข
ตัวกลางสูงเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากต้องการเร่งต้นเร่งใบให้โตเร็วและต้องการให้ข้าวออกดอก

ข้าวนาปรัง จะมีช่วงเวลาที่ต้องการใช้ปุ๋ยเคมีช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม และข้าวนาปีมีช่วงเวลาที่ต้องการ
ใช้ปุ๋ยเคมีช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายนพืชไร่ 
ส่วนใหญ่เกษตรกรนิยมใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15, 20-20-0,
16-20-0, 12-24-12 และปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 
(21-0-0) เป็นปุ๋ยเคมีที่มีเลขตัวหน้าและตัวกลางสูง
เป็นส่วนใหญ่ซึ่งต้องการเร่งต้นเร่งใบให้เติบโตเร็วเป็นหลัก 

สำหรับพืชไร่ต่างๆ มีช่วงเวลาที่ต้องการใช้ปุ๋ยเคมีช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มปลูก
และช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูฝนอีกครั้ง ไม้ผล-ไม้ยืนต้น ส่วนใหญ่เกษตรกร
นิยม
ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15, 13-13-21, 12-24-12, 9-24-24, 14-14-21, และสูตร 16-11-14
สำหรับช่วงเริ่มต้น
นิยมใส่ปุ๋ยสูตรที่มีตัวเลขตัวหน้าและตัวกลางสูง เพื่อเร่งการเติบโตของต้นและใบให้โตเร็ว
ช่วงที่สอง นิยมใส่ปุ๋ยที่มีเลขตัวท้ายมาก เพื่อเร่งให้ไม้ผลมีรสหวาน สำหรับไม้ผล-ไม้ยืนต้น มีช่วงเวลาที่
ต้องการใช้ปุ๋ยเคมีช่วงแรกเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนและในช่วงที่สองเดือนกันยายน-ตุลาคมพืชผัก-ไม้ดอก
ไม้ประดับ  ส่วนใหญ่เกษตรกรนิยมใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 21-0-0 ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0, 13-13-21,
16-20-0, 26-14-0, 20-11-11 และสูตร 9-24-24

 
พืชผัก-ไม้ดอกไม้ประดับ มีความต้องการปุ๋ยเคมีทั้งเลขตัวหน้าถึงตัวกลางและตัวท้ายในช่วงเวลาเดียวกัน
มากกว่าพืชชนิดอื่น เนื่องจากมีระยะเวลาการปลูกค่อนข้างสั้น สำหรับช่วงเวลาความต้องการใช้ปุ๋ยเคมีนั้น
มีตลอดปี ขึ้นกับจะเริ่มต้นเพาะปลูกเมื่อใด

 

กระบวนการผลิตปุ๋ย

เราสามารถแบ่งประเภทของการผลิตปุ๋ยเคมี ออกเป็น 3 ประเภท คือ
 
1) การผลิตปุ๋ยเคมีประเภทแม่ปุ๋ย หมายถึง กระบวนการนำเอาวัตถุดิบขั้นพื้นฐาน เช่น แร่
​ก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ มาสังเคราะห์เป็นสารประกอบทางเคมี เพื่อให้มีธาตุอาหารหลักหนึ่งหรือ
สองธาตุเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ตัวอย่างได้แก่ โรงงานผลิตปุ๋ยเคมีที่แม่เมาะ จังหวัดลำปาง
ซึ่งผลิตแม่ปุ๋ยได้แก่ แอมโมเนีย,แอมโมเนียซัลเฟต และยูเรีย เป็นต้น

 
2) การผลิตปุ๋ยเคมีประเภทปุ๋ยผสม หมายถึง การที่ได้นำเอาปุ๋ยสำเร็จรูปแล้ว หรือเป็น
ปุ๋ยเคมีที่เรียกว่า กึ่งสำเร็จรูปมาผสมกัน หรือทำปฏิกิริยากันให้ได้เป็นสารผสม หรือสารผสม
กึ่งสารประกอบเพื่อให้ได้ปริมาณและสัดส่วนของธาตุอาหารหลักตั้งแต่สองธาตุขึ้นไป
แม่ปุ๋ยกึ่งสำเร็จรูป หมายถึง การนำเอาสารประกอบบางตัว เช่น NH3, H3 PO4, HNO3
หรือ H2 SO4 ซึ่งเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตแม่ปุ๋ยมาเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุดิบผลิตปุ๋ยผสมด้วย  
ตัวอย่าง การผลิตประเภทนี้ ได้แก่ โรงงานผลิตปุ๋ยเคมีผสมของบริษัทไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด

 
3) การผลิตปุ๋ยเคมีประเภทสมบูรณ์แบบ หมายถึง การผลิตตั้งแต่เริ่มต้น หรือการนำเอาวัตถุดิบ
พื้นฐาน เช่น แร่ อากาศ ก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ ทำการผลิตแม่ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสเฟตหรือโปแตส
อย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือหลายอย่างพร้อมกัน ทำการผลิตปุ๋ยผสมต่อเนื่องกันไป ได้ผลผลิตทั้งแม่ปุ๋ย
และปุ๋ยผสมสูตรต่างๆ 
โรงงานแบบนี้ มีในประเทศที่เจริญทางเทคโนโลยีของปุ๋ยสูงๆ เท่านั้น
ตัวอย่างเช่น ในประเทศฮอลแลนด์ 
(ดังรูป) ในโรงงานนี้ จะประกอบด้วยโรงงานย่อยๆ หลายโรงงาน
เช่น โรงงานผลิตแอมโมเนีย
จากก๊าซธรรมชาติ โรงงานแยกก๊าซจากอากาศ โรงงานผลิตปุ๋ยยูเรีย
ผลิตกรดไนคลิก ผลิตกรดกำมะถัน และ
แอมโมเนียซัลฟา ผลิตแคลเซียม แอมโมเนียมไนเตรท
และโรงงานผลิตปุ๋ยผสมจากวัตถุดิบที่ได้ โดยตรงจากโรงงานและภายนอก


 

ปุ๋ยยูเรีย (urea)

ปุ๋ยยูเรีย คือสารอินทรีย์สังเคราะห์* ที่มีไนโตรเจน (N) เป็นส่วนประกอบในอัตราส่วนที่สูงมากถึงร้อยละ 46
โดยน้ำหนัก ปุ๋ยยูเรีย เป็นปุ๋ยเคมีมาตรฐาน ที่สำคัญที่สุด สูตรปุ๋ยของปุ๋ยยูเรีย คือ 46-0-0 เนื่องจากมีสัดส่วน
ไนโตรเจนสูงที่สุด จึงใช้เป็นแม่ปุ๋ยไนโตรเจน ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ใช้ประโยชน์เพื่อเป็นธาตุอาหารหลักของพืช
โดยเฉพาะในช่วงแรกของการเพาะปลูกที่ต้องเร่งการเจริญเติบโตของพืชอย่างรวดเร็ว ทำให้พืชมีลำต้นยาว
มีใบดก ใบใหญ่ ใบสีเขียวเข้ม

ปุ๋ยยูเรีย ตามกฎหมาย
ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ตามกฎหมายเรียกว่า 'ปุ๋ยเคมียูเรีย' โดยต้องมีปริมาณไนโตรเจนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 44 ของ
น้ำหนัก มีปริมาณไบยูเร็ตต่ำกว่าร้อยละ 1 ของน้ำหนัก และมีปริมาณความชื้นต่ำกว่าร้อยละ 3 ของน้ำหนัก


* สารอินทรีย์ คือสารที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิต ข้อมูลบางแหล่งจึงจัดปุ๋ยยูเรีย เป็นปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งไม่ถูกต้อง
และกฎหมายไทยถือว่า ปุ๋ยยูเรีย เป็นปุ๋ยเคมี

* ยูเรีย เป็นสารอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นจากสารอนินทรีย์ได้ชนิดแรกของโลก และปฏิวัติวงการเคมี
ที่เคยเชื่อว่าสารอินทรีย์ต้องได้มาจากสิ่งมีชีวิตเท่านั้น

 

ชื่ออื่น ๆ ของปุ๋ยยูเรีย (urea fertilizer)

• ยูเรีย (urea)
• ยูเรีย 46-0-0
• ปุ๋ย 46-0-0
• ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0
• ปุ๋ยเคมียูเรีย
• แม่ปุ๋ยยูเรีย
• แม่ปุ๋ยไนโตรเจน
• ปุ๋ยไนโตรเจน (Nitrogen fertilizer)
• คาร์บาไมด์ (carbamide)
• carbonyl diamide
• carbonyldiamine
• diaminomethanal
• diaminomethanone
 

สูตรเคมีของปุ๋ยยูเรีย (urea chemical formula)

ปุ๋ยยูเรีย มีสูตรเคมีคือ CH4N2O หรือ CO(NH2)2 บางครั้งเขียน NH2CONH2 เพื่อแสดงถึงลักษณะ
โครงสร้างยูเรีย และการจับตัวของโมเลกุลกลุ่มอะมิโน (NH2) 2 กลุ่ม กับ โมเลกุลกลุ่มคาร์บอนิล
(C=O)

 

โมเลกุลปุ๋ยยูเรีย (urea molecule)

 
ที่มา:(ThaiFertilizer.com )โมเลกุลปุ๋ยยูเรีย (urea molecule)



ราคาปุ๋ยยูเรีย (urea price)
 
ราคาปุ๋ยยูเรีย ขึ้นลงตามตลาดโลก อันเนื่องมาจากต้นทุนวัตถุดิบ บางโรงงานผลิตปุ๋ยยูเรียจากก๊าซธรรมชาติ
ส่วนบางโรงงานผลิตปุ๋ยยูเรียจากถ่านหิน ต้นทุนการผลิต ต้นทุนค่าขนส่ง อัตราแลกเปลี่ยน ภาษี ปุ๋ยยูเรีย
ถือได้ว่าเป็นสินค้าประเภทคอมโมดิตี้ (commodity) ที่มีการซื้อขายกันโดยทั่วไป และมีราคาซื้อขายล่วงหน้า
แต่ปัจจัยที่มีผลต่อราคาปุ๋ยยูเรียอย่างมาก คือ ปริมาณความสามารถของการผลิตโดยรวม ปริมาณความต้องการ
ใช้ปุ๋ยโดยรวม (demand - supply) และปริมาณปุ๋ยยูเรียคงคลังที่เก็บไว้เพื่อจำหน่าย และยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมาก 
 
กรรมวิธีการผลิตปุ๋ยยูเรีย (urea production)

เริ่มจากการดูดก๊าซไนโตรเจน (N2) จากอากาศ และนำก๊าซธรรมชาติมาผลิตก๊าซไฮโดรเจน (H2)
(บางโรงงานผลิตจากถ่านหิน) มาผ่านกระบวนการผลิตเป็นแอมโมเนีย (NH3) และได้ผลพลอยได้
เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หลังจากนั้นนำแอมโมเนียเหลว และ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ที่ผลิตได้ก่อนหน้านี้มาผ่านขบวนการทางเคมี ที่ความร้อนสูงประมาณ 180°C ที่ความดันประมาณ 200 บาร์
แล้วนำมาตกผลึก จะได้เป็นปุ๋ยยูเรีย 
อาจกล่าวได้อย่างง่าย ๆ ว่า ปุ๋ยยูเรียเป็นปุ๋ยที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ 
(เพราะก๊าซไนโตรเจนดูดมาจากอากาศ)


อย่างไรก็ตามในขบวนการผลิต จะได้สารพิษที่ไม่ต้องการปะปนมาด้วยคือ ไบยูเร็ต (biuret)
ซึ่งจำเป็นต้องควบคุมให้มีปริมาณต่ำ และใช้เป็นตัวแบ่งเกรดปุ๋ยยูเรีย โดยทั่วไป กำหนดให้ไบยูเร็ตไม่เกิน 1%
อันเนื่องมาจากการผลิตแอมโมเนีย ต้องใช้ก๊าซธรรมชาติ (หรือถ่านหิน) เป็นวัตถุดิบ ทำให้ราคา
ก๊าซธรรมชาติ (หรือถ่านหิน) มีผลโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตปุ๋ยยูเรีย และส่งผลต่อราคาขายปุ๋ยยูเรียอีกด้วย
 
คุณสมบัติของปุ๋ยยูเรีย (urea property)

มีผลึกสีขาว มีกลิ่นเฉพาะตัว ดูดความชื้นได้ดี ละลายน้ำได้ดีมาก ที่อุณหภูมิห้อง ยูเรีย 1.5 กิโลกรัม
สามารถละลายหมดในน้ำเปล่า 1 กิโลกรัมได้ มีจุดหลอมเหลวประมาณ 133 องศาเซลเซียส
(สูงกว่าน้ำเดือด) ไม่ติดไฟ
 
ชนิดของปุ๋ยยูเรีย (urea type)

1.ปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม (granular urea)

ปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม เป็นปุ๋ยที่มีเม็ดขนาดใหญ่ 2-4 มิลิเมตร มีสีขาวเหมือนเม็ดโฟม นิยมใช้ทางการเกษตร
เหมาะกับการหว่าน และใช้กับเครื่องพ่นปุ๋ยทั่วไปได้
ปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม เป็นแม่ปุ๋ยหลักไนโตรเจน สำหรับโรงงานผลิตปุ๋ยบัลค์ โดยนำไปบัลค์ปุ๋ย (คลุกปุ๋ย)
กับแม่ปุ๋ยชนิดอื่น เช่น แม่ปุ๋ยแดป (DAP) 18-46-0 แม่ปุ๋ยม็อบ (MOP) 0-0-60 และฟิลเลอร์ ด้วยการคลุกเคล้า
เพื่อให้ได้ปุ๋ยสูตรต่าง ๆ ตามต้องการ เช่น ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 ปุ๋ยสูตร 16-16-8

2.ปุ๋ยยูเรียเม็ดเล็ก หรือเม็ดสาคู (prilled urea)

ปุ๋ยยูเรียเม็ดเล็ก หรือเม็ดสาคู เป็นปุ๋ยที่มีเม็ดขนาดเล็ก 1-3 มิลิเมตร มีสีขาวใสเหมือนเม็ดสาคู
เฉพาะในประเทศไทยนิยมใช้ทางการเกษตรน้อยกว่าปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม แต่ใช้ได้ดีกับต้นไม้เหมือน
ปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม เพียงแต่ไม่เป็นที่คุ้นเคยของเกษตรกร ปุ๋ยยูเรียเม็ดเล็กไม่สามารถใช้บัลค์ปุ๋ยได้
เนื่องจากเม็ดมีขนาดเล็กที่สำคัญปุ๋ยยูเรียเม็ดเล็กนิยมใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์เพื่อเสริมโปรตีน
(ไม่ใช้ปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม) เพื่อเพิ่มโปรตีนสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้องต่าง ๆ เช่น วัว ควาย แพะ แกะ

ปุ๋ยยูเรียทั้ง 2 ชนิดมีสูตรเคมี และคุณสมบัติทางเคมี ที่เหมือนกัน แตกต่างกันเพียงลักษณะทาง
กายภาพของเม็ดปุ๋ยเท่านั้น คือ ขนาดเม็ดใหญ่เล็กแตกต่างกัน

ปุ๋ยยูเรียทั้ง 2 ชนิดมีสูตรเคมี และคุณสมบัติทางเคมี ที่เหมือนกัน แตกต่างกันเพียงลักษณะ
ทางกายภาพของเม็ดปุ๋ยเท่านั้น คือ ขนาดเม็ดใหญ่เล็กแตกต่างกัน


         
ตารางเปรียบเทียบลักษณะ ปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม ปุ๋ยยูเรียเม็ดสาคู


       ตารางเปรียบเทียบขนาดเม็ดปุ๋ยยูเรีย

 
ขนาด เป็นอย่างเดียวที่แตกต่างกัน ของปุ๋ยยูเรียทั้ง 2 ชนิด
** ความชื้น ปุ๋ยของเรามีความชื้นต่ำมาก ทำให้เก็บไว้ได้นาน โดยไม่เสื่อมสภาพ
 
ประโยชน์ของยูเรียเป็นปุ๋ย (urea as fertilizer)
ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 เป็นแม่ปุ๋ยที่ให้แร่ธาตุอาหารหลักไนโตรเจน ซึ่งพืชทุกชนิดมีความต้องการในปริมาณที่สูงมาก
โดยทั่วไปไนโตรเจนเป็นแร่ธาตุอาหารในดินที่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช จึงมีความจำเป็นต้องใส่เพิ่มในทุกกรณี
เพื่อให้พืชเจริญเติบโตงอกงาม ได้ผลผลิตที่ดี โดยปุ๋ยยูเรีย ช่วยทำให้พืชมีใบสีเขียว มีส่วนในการสังเคราะห์แสง
ทำให้พืชเจริญเติบโตมีความสูง ใบเจริญงอกงามมีขนาดใหญ่ ใบดกหนา ใบสีเขียวเข้ม และช่วยเพิ่มโปรตีนในผลผลิต
 
ประโยชน์ของยูเรียเป็นอาหารสัตว์เสริมโปรตีน (urea as feedstuff)
ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 นิยมใช้เป็นอาหารสัตว์เสริมโปรตีนที่สำคัญสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัวเนื้อ วัวนม ควาย โค
กระบือ แพะ แกะ กวาง เพราะจุลอินทรีย์ในกระเพาะหมัก (rumen หรือ กระเพาะ ผ้าขี้ริ้ว) ของสัตว์เคี้ยวเอี้อง
สามารถเปลี่ยนยูเรียในอาหารให้เป็นก๊าซแอมโมเนีย ซึ่งอุดมด้วยธาตุไนโตรเจนที่เป็นส่วนประกอบ
สำคัญของกรดอะมิโน เพื่อให้สัตว์นำไปสร้างเป็นโปรตีน นอกจากนี้ยูเรียถือเป็นอาหารเสริมสำหรับ
สัตว์ที่ให้โปรตีนในราคาถูกที่สุด ถูกกว่าปลาป่น และกากถั่วต่าง ๆ เพราะให้โปรตีนสูงถึง 287.5 เปอร์เซนต์
 
ข้อควรระวัง
ไม่สามารถให้ยูเรียเป็นอาหารเคี้ยวเอื้องได้โดยตรง หรือให้เป็นอาหารสัตว์ในปริมาณมากเกินไป
เพราะอาจเป็นอันตรายและทำให้สัตว์ตายได้
 
การให้ธาตุอาหารไนโตรเจนของปุ๋ยยูเรีย (how urea nutrient works)
ไนโตรเจน (N2) เป็นแก๊สที่มีปริมาณมากที่สุดในอากาศ โดยมีมากถึง 78% (มากกว่าแก๊สออกซิเจนที่เราใช้หายใจ)
แต่เนื่องจากไนโตรเจนเป็นแก๊สเฉื่อย มีโครงสร้างโมเลกุลยึดเกาะกันอย่างแข็งแรง พืชไม่สามารถนำไป
ใช้ได้โดยตรงอีกทั้งไนโตรเจนไม่สามารถทำปฏิกิริยาเคมีได้โดยง่าย ทำให้ในธรรมชาติและในดินมี
ไนโตรเจนซึ่งอยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อยมาก ดินทั่วไปโดยเฉพาะดินสำหรับการเพาะปลูก
ถูกพืชดูดซึมไนโตรเจนไปใช้จนหมด ทำให้คลาดแคลนไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืชอีกต่อไป
มีความจำเป็นต้องเติมไนโตรเจนกลับลงสู่ดิน ในรูปที่พืชดูดซึมไปใช้ได้ในรูปของปุ๋ย
และปุ๋ยที่ให้ธาตุไนโตรเจนสูงที่สุดคือปุ๋ยยูเรีย

 
เมื่อเติมปุ๋ยยูเรียลงในดินจะเกิดกระบวนการดังนี้
• ปุ๋ยยูเรีย เมื่อละลายน้ำจะถูกแบคทีเรียในดินย่อยสลายจะเปลี่ยนรูปเป็น แอมโมเนีย (NH3)
• แอมโมเนียบางส่วน จะระเหยสูญเสียไปจากดิน
• แอมโมเนีย เมื่อโดนความชื้นจะเปลี่ยนรูปเป็นแอมโมเนียม (NH4+)
• แอมโมเนียม จะจับกับอนุภาคดินที่เป็นประจุลบ เป็นธาตุอาหารไนโตรเจนที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้
• แอมโมเนียมบางส่วน จะผ่านกระบวนการไนตริฟิเคชั่นถูกแบคทีเรียเปลี่ยนรูปเป็น ไนไตรท์ (NO2-)
• ไนไตรท์ จะผ่านกระบวนการไนตริฟิเคชั่นถูกแบคทีเรียเปลี่ยนรูปเป็น ไนเตรท (NO3-)
• ไนเตรท เป็นธาตุอาหารไนโตรเจนที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้ เนื่องจากไนเตรทมีประจุลบไม่จับกับอนุภาคดิน
ไนเตรทบางส่วนจะถูกชะล้างสูญเสียไปจากดิน