อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของไทยเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2456 โดยที่มีบริษัทแรกคือ บริษัทปูซีเมนต์ไทยซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะทำการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า และเพื่อให้มีอุตสาหกรรมที่ผลิตวัตถุดิบที่สำคัญในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง อุตสาหกรรมนี้อยู่ภายใต้การควบคลุมของรัฐบาลมาโดยตลอดนับตั้งแต่เริ่มต้น ดังนั้น นโยบายของรัฐบายจึงมีอิทธิพลอย่างมากต่อลักษณะโครงสร้างและการเจริญเติมโตของอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งโดยแท้จริงแล้วส่งปลกระทบไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง
ลักษณะทั่วไปของอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ภาวะอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
ปริมาณการผลิต
ในปี 2554 มีการผลิตปูนเม็ดประมาณ 38.14 ล้านตัน ส่วนการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) มีปริมาณการผลิตประมาณ 36.42 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปีก่อน ปริมาณการผลิตปูนเม็ดและปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด)
ลดลงเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 1.68 และ 0.22 ตามตาราง
ปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ (หน่วย:ล้านตัน)
ผลิตภัณฑ์
|
ปี 2551
|
ปี 2552
|
ปี 2553
|
ปี 2554
|
ปูนเม็ด
|
38.15
|
37.4
|
38.79
|
38.14
|
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%)
|
|
-1.97
|
3.72
|
-1.68
|
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด)
|
34.4
|
33.56
|
36.5
|
36.42
|
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%)
|
|
-2.44
|
8.76
|
-0.22
|
การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ใน ปี 2554 มีปริมาณการจำหน่ายรวมประมาณ 30.91 ล้านตัน แบ่งออกเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.99 ล้านตัน และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 29.92 ล้านตัน โดยเมื่อเทียบกับ
ปีก่อน ปริมาณการจำหน่ายปูนเม็ดลดลงร้อยละ 18.85 สำหรับปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.20
ในปี 2554 โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีแรก อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เติบโตขึ้น เนื่องจากธุรกิจการก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศขยายตัวตามเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะการขยายตัวในที่อยู่อาศัย
ประเภทบ้านจัดสรร เนื่องจากมีการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนออกสู่ชานเมือง และปัจจัยสำคัญที่มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ คือ การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาล ซึ่งมีส่วนช่วยผลักดันให้มี
การใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จากปัญหาอุทกภัยทำให้เกิดน้ำท่วมขังเป็นเวลานานในหลายพื้นที่ ถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์จะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาวะน้ำท่วม แต่ทำให้เกิดอุปสรรคในการขนส่ง
รวมทั้งการก่อสร้างต่างๆ ต้องชะลอออกไป ส่งผลให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ลดลงตามไปด้วย ดังนั้น จึงทำให้อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไม่ขยายตัวอย่างที่คาดไว้ในช่วงต้นปี
ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ (หน่วย:ล้านบาท)
ผลิตภัณฑ์
|
ปี 2551
|
ปี 2552
|
ปี 2553
|
ปี 2554
|
ปูนเม็ด
|
0.17
|
1.05
|
1.22
|
0.99
|
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%)
|
|
517.65
|
16.19
|
-18.85
|
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด)
|
26.46
|
26.34
|
28.44
|
29.92
|
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%)
|
|
-0.45
|
7.97
|
5.2
|
รวม
|
26.63
|
27.39
|
29.66
|
30.91
|
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%)
|
|
2.85
|
8.29
|
4.21
|
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (หมายเหตุ : ปี 2554 เป็นตัวเลขประมาณการ)
การส่งออก
ในปี 2554 การส่งออกปูนซีเมนต์ มีปริมาณรวมประมาณ 12.11 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า564.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการส่งออกรวมลดลงร้อยละ 17.62 และ 12.69 ตามลำดับ
โดยแบ่งออกเป็นการส่งออกปูนเม็ดประมาณ 6.62 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 260.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเมื่อเทียบกับปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการส่งออกปูนเม็ด ลดลงร้อยละ 22.03 และ 10.71 ตามลำดับ
สำหรับปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) มีปริมาณการส่งออกประมาณ 5.49 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 304 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ลดลงร้อยละ 11.59
และ 14.33 ตามลำดับ
สถานการณ์การส่งออกที่ชะลอตัวลง เนื่องจากในช่วงต้นปีตลาดภายในประเทศขยายตัวจึงทำให้ผู้ประกอบการหันมาเน้นตลาดภายในประเทศมากขึ้น อีกทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความผันผวน และภาวะเงินเฟ้อที่เริ่ม
ส่งผลกระทบชัดเจนขึ้นในภูมิภาคเอเชียซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย นอกจากนี้ จากภาวะน้ำท่วมในช่วงปลายปี ทำให้เกิดอุปสรรคในการขนส่ง จึงทำให้การส่งออกปูนซีเมนต์ลดลงตามไปด้วย สำหรับตลาด
ส่งออกที่สำคัญของไทย คือ เมียนมาร์ บังคลาเทศ กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ตามลำดับ
การนำเข้า
การนำเข้าปูนซีเมนต์ ปี 2554 คาดว่าจะมีปริมาณรวม 16,439.26 ตัน คิดเป็นมูลค่า 7.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งเป็นการนำเข้าปูนเม็ดประมาณ 620.35 ตัน คิดเป็นมูลค่า 0.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปูนซีเมนต์
(ไม่รวมปูนเม็ด) ประมาณ 15,818.91 ตัน คิดเป็นมูลค่า 6.86 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเมื่อเทียบกับปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการนำเข้ารวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.38 และ 47.44 ตามลำดับ การนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นอะลูมินัสซีเมนต์
ซึ่งไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ และบางส่วนเป็นการนำเข้าซีเมนต์ปอร์ตแลนด์คุณภาพสูงเพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ระบุคุณสมบัติของวัสดุที่นำมาก่อสร้าง ตลาดนำเข้าที่สำคัญคือ ไต้หวัน เกาหลีใต้ โครเอเชีย
และจีน
แนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ปี 2555
หลังจากต้องเผชิญกับปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วมที่รุนแรงที่สุดในรอบ 70 ปีจากธรรมชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย ยังคาดว่าโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมทุกแห่งที่ประสบอุทกภัยจะสามารถกลับมา
ดำเนินการผลิตตามปรกติได้ในไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปี 2555 ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศกลับเติบโตได้คิดเป็นร้อยละ 4.8 อย่างไรก็ตาม ในสายตาของนักลงทุนต่างชาติ ภัยพิบัติจากธรรมชาติได้กลาย
มาเป็นภัยคุกคาม และถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของประเทศไทย ล่าสุดนักลงทุนทีรับผลกระทบจากอุทกภัยได้รวมตัวเรียกร้องให้รัฐบาลจัดทำแผนแม่บทในการบริหารน้ำขึ้นมาเพื่อเป็นการป้องกันในระยะยาว นอกจากการปรับปรุง
และก่อสร้างคันกั้นน้ำที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในบริเวณรอบนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งก็ตรงกับที่รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการแก้ไขน้ำท่วมระยะยาวขึ้นมา โดยเบื้องต้นคาดว่าในแผนระยะ 5 ปี คงจำเป็นต้องใช้งบประมาณในการฟื้นฟู
และการป้องกันภัยที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นในอนาคตคิดเป็นจำนวนเงินประมาณ 1 ล้านล้านบาท โดยรัฐบาลมองว่าการใช้งบประมาณในครั้งจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนในระยะยาว และยังทำให้เกิดกระตุ้นเศรษฐกิจ
ภายในประเทศไปด้วย
กระบวนการผลิตปูนซีเมนต์
ปูนซีเมนต์มีชื่อเต็มว่า ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีเทา ใช้เป็นส่วนสำคัญในการทำคอนกรีต จะทำหน้าที่เป็นตัวประสานที่ช่วยยึดหิน ทราย และเหล็กให้ติดแน่นเป็นเนื้อเดียวกัน ถ้าไม่มี
ปูนซีเมนต์ยึดประสานไว้ หิน ทราย และ เหล็ก ก็อาจแตกแยกหลุดออกจากกันได้ง่าย ไม่สามารถคงรูปร่างของสิ่งก่อสร้างดังที่ต้องการ โดยคุณสมบัติพิเศษของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ได้แก่ การก่อตัวและแข็งตัวได้ในน้ำ
ดังนั้น เมื่อผสมหิน ทราย ปูนซีเมนต์ และน้ำ คลุกเคล้าให้เข้ากันดี แล้วเทลงในแบบที่เตรียมไว้ ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วแกะแบบออกก็จะได้คอนกรีตที่มีรูปร่างเหมือนแบบ
ประเภทของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ แบ่งเป็น 5 ประเภทดังนี้
ประเภทที่ 1 เหมาะสำหรับงานก่อสร้างทั่วไป ส่วนใหญ่จะนำไปใช้กับงานคอนกรีตเสริมเหล็ก เช่น ทำผิวถนน สะพาน ท่อระบายน้ำ เป็นต้น ปูนซีเมนต์ประเภทนี้มีข้อเสียคือ ไม่ทนต่อสารที่เป็นด่าง จึงไม่เหมาะสมกับ
งานที่ต้องสัมผัสกับด่างจากดินหรือน้ำ เช่น โรงงานอุตสาหกรรมเคมี
ประเภทที่ 2 ปูนซีเมนต์ประเภทนี้เมื่อผสมกับน้ำจะคายความร้อนออกมาน้อยกว่าประเภทธรรมดา และ มีความต้านทานต่อสารที่เป็นด่างได้บ้าง เหมาะสำหรับงานโครงสร้างขนาดใหญ่ อาทิเช่น ตอม่อขนาดใหญ่
สะพานเทียบเรือ เขื่อนหรือกำแพงกันดินในบริเวณที่ถูกน้ำเค็มเป็นครั้งคราว
ประเภทที่ 3 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทนี้มีความละเอียดมากกว่า เป็นผลทำให้แข็งตัวและรับแรง ได้เร็วกว่าปูนซีเมนต์ประเภทที่หนึ่ง จึงนิยมนำไปใช้กับงานเร่งด่วนที่ต้องแข่งกับเวลาหรือในกรณีที่ต้องการถอด
หรือรื้อแบบเร็วกว่าปกติ
ประเภทที่ 4 เหมาะกับงานที่ต้องการควบคุมทั้งปริมาณและอัตราความร้อนที่เกิดขึ้นให้น้อยที่สุด การเกิดกำลังของคอนกรีตที่มีส่วนผสมของปูนซีเมนต์ประเภทนี้จะเป็นไปอย่างช้าๆ จึงนิยมใช้กับงานขนาดใหญ่ เช่น
เขื่อนกั้นน้ำ ซึ่งถ้ามีความร้อนอย่างร้ายแรงต่อตัวเขื่อน จะทำให้เกิดการแตกหรือร้าวได้
ประเภทที่ 5 มีคุณสมบัติในการต้านทานต่อสารที่เป็นด่างได้สูง จึงเหมาะที่จะใช้กับงานก่อสร้างในบริเวณที่ต้องสัมผัสกับด่าง เช่น ในบริเวณที่ดินมีความเป็นด่างสูง หรือน้ำทะเล ระยะเวลาในการแข็งตัวของ
ปูนซีเมนต์ประเภทนี้จะช้ากว่าประเภทอื่นๆ
วัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิต แบ่งออกเป็น 3 ชนิดใหญ่ๆ ดังนี้
1. วัตถุดิบที่มีส่วนประกอบของปูนขาว (Line Component) เป็นวัตถุดิบที่มีส่วนประกอบทางเคมี เป็นแคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium Carbonate. CaCo3) ซึ่งมีความบริสุทธิ์ประมาณ 85 – 95 % ตัวอย่างวัตถุเหล่า
นี้ตามธรรมชาติ ได้แก่ หินปูน (Limestone) ชอล์ก (Chalk) และดินขาว (Marl)
2. วัตถุดิบที่มีส่วนประกอบของดินดำ (Clay) เป็นวัตถุดิบที่มีส่วนประกอบทางเคมีของซิลิคอนไดออกไซด์ (Silicon Dioxide, SiO2) อะลูมินัมออกไซด์ (Aluminum Oxide, Al2O3) และเฟอร์ริกออกไซด์
(Ferric Oxide, Fe2O3) ตัวอย่างวัตถุเหล่านี้ตามธรรมชาติ ได้แก่ ดินดำ (Clay) และดินดาน (Shale)
3.วัตถุดิบปรับแต่งคุณสมบัติ (Corrective Materials) เป็นวัตถุดิบที่ใช้สำหรับเพิ่มเติมสารประกอบบางตัว ซึ่งมีไม่เพียงพอในดินดำ หรือดินดาน วัตถุดิบเหล่านี้ได้แก่ ทราย (ในกรณีที่ต้องการซิลิคอนไดออกไซด์)
แร่เหล็กหรือดินลูกรัง (ในกรณีที่ต้องการเฟอร์ริกออกไซด์) และดินอะลูมินา (ในกรณีที่ต้องการอะลูมินัมออกไซด์) เป็นต้น
กรรมวิธีการผลิตปูนซีเมนต์
กรรมวิธีการผลิตปูนซีเมนต์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบเปียก (Wet Process) และแบบแห้ง (Dry Process) ซึ่งมีรายละเอียดของกระบวนการผลิตแต่ละแบบดังนี้
รูปแสดงกรรมวิธีผลิตปูนซีเมนต์
1.การผลิตปูนซีเมนต์แบบเปียก (Wet Process) สามารถแยกเป็นขั้นตอนเพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจได้ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 นำวัตถุดิบหลักที่ใช้ในกระบวนการผลิตจากแหล่ง นั่นคือ ดินขาว (Marl) และดินเหนียว (Clay) ซึ่งหาได้จากแหล่งดินตามธรรมชาติมายังที่ผลิต
ขั้นตอนที่ 2 นำดินทั้งสองชนิดมาผสมกันน้ำในบ่อตีดิน (Wash Mill) แล้วกวนให้เข้ากัน
ขั้นตอนที่ 3 หลังจากที่กวนเข้ากันแล้ว ก็ส่งไปบดให้ละเอียดในหม้อบดดิน (Slurry Mill) จนได้น้ำดิน (Slurry)
ขั้นตอนที่ 4 ส่งไปกรองเอาเศษหินและส่วนที่ไม่ละลายน้ำออก เหลือแต่น้ำดินที่ละลายเข้ากันดี ซึ่งจะผ่านเครื่องกรองสองเครื่องคือ เครื่องกรองหยาบ และเครื่องกรองละเอียด
ขั้นตอนที่ 5 สูบน้ำดินไปเก็บพักไว้ในยุ้งเก็บ (Silo) เพื่อตรวจสอบคุณภาพและปรับแต่งส่วนผสมให้ได้คุณภาพตามที่กำหนด
ขั้นตอนที่ 6 น้ำดินที่มีส่วนผสมที่ถูกต้องแล้ว จะถูกสูบไปรวมกันที่บ่อกวนดิน (Slurry Basin) เพื่อให้มีปริมาณเพียงพอและกวนให้ส่วนผสมรวมตัวเป็นเนื้อเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง
ขั้นตอนที่ 7 สูบน้ำดินจากบ่อกวนดินเข้าสู่เครื่องป้อนน้ำดิบ เพื่อป้อนน้ำดิบเข้าไปเผาในหม้อเผาแบบหมุน (Rotary Kiln) ความร้อนในหม้อเผาจะทำให้น้ำระเหยออกสู่บรรยากาศ เหลือแต่เม็ดดินซึ่งเมื่อให้
ความร้อนต่อไปจนถึงอุณหภูมิหนึ่ง จะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีกลายเป็นปูนเม็ด (Clinker)
ขั้นตอนที่ 8 ปูนเม็ด (Clinker) จะถูกลำเลียงไปตามโซ่ลำเลียงปูนเม็ด เพื่อนำไปเก็บในยุ้งเก็บปูนเม็ดรอกระบวนการต่อไป
ขั้นตอนที่ 9 เป็นขั้นตอนการบดปูนเม็ดให้กลายเป็นปูนซีเมนต์ ทำโดยนำปูนเม็ดมาผสมกับยิปซัม (Gypsum) ที่ถูกย่อยแล้ว จากนั้นก็บดให้ละเอียดเป็นผงในหม้อบดซีเมนต์ (Cement Mill) ความละเอียดใน
การบดและอัตราส่วนระหว่างปูนเม็ดกับยิปซัมต้องเลือกอย่างเหมาะสม เพื่อให้ได้ปูนซีเมนต์ที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ
ขั้นตอนที่ 10 จากนั้นปูนซีเมนต์จะผ่านเครื่องแยกปูนละเอียด แล้วจะถูกลำเลียงไปเก็บไว้ในยุ้งเก็บปูนซีเมนต์ผง (Cement Silo) เพื่อรอการจำหน่ายต่อไป
รูปกรรมวิธีการผลิตปูนซีเมนต์แบบเปียก
ที่มา: สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ 24 หน้า 196
2. การผลิตปูนซีเมนต์แบบแห้ง (Dry Process)
ขั้นตอนที่ 1 นำวัตถุดิบหลักที่ใช้ในกระบวนการผลิตจากแหล่งนั่นคือ หินปูน (Limestone) และดินดาน (Shale) ซึ่งได้จากการระเบิดหินจากภูเขาหินปูนมายังที่ทำการผลิต
ขั้นตอนที่ 2 นำดินทั้งสองชนิดมาลดขนาดลงเพื่อให้เหมาะกับกระบวนการผลิตขั้นต่อไป โดยการนำมาผ่านเครื่องย่อย (Crusher) ซึ่งวัตถุดิบที่ผ่านการย่อยแล้วจะถูกนำมาเก็บไว้ที่กองเก็บวัตถุดิบ
(Storage Yard) นอกจากนี้วัตถุดิบปรับแต่งคุณสมบัติ (Corrective Materials) ซึ่งใช้เฉพาะบางตัว เพื่อให้ได้ส่วนประกอบทางเคมีตามค่ามาตรฐานที่กำหนด วัตถุดิบอื่นเหล่านี้ก็ต้องผ่านเครื่องย่อยเพื่อลดขนาดให้เหมาะสมเช่นกัน
ขั้นตอนที่ 3 ลำเลียงไปยังหม้อบดวัตถุดิน (Raw Mill) ซึ่งในหม้อบดวัตถุดิบ (Raw Mill) นี้จะบดหินปูน ดินดาน และวัตถุดิบปรับแต่งคุณสมบัติให้เป็นผงละเอียดรวมกันซึ่งเรียกว่า วัตถุดิบสำเร็จ (Raw Meal)
โดยการควบคุมอัตราส่วนของวัตถุดิบที่ป้อนเข้าสู่หม้อบดวัตถุดิบมีความสำคัญมาก เนื่องจากอัตราส่วนของวัตถุดิบที่เหมาะสมจะทำให้วัตถุดิบสำเร็จมีคุณสมบัติทางเคมีที่เหมาะสมกับการเผาด้วย
ขั้นตอนที่ 4 หลังจากผ่านกระบวนการบดแล้ววัตถุดิบสำเร็จจะถูกลำเลียงผ่านเครื่องแยกวัตถุดิบผสมแล้ว (Cyclone) ไปยังยุ้งผสมวัตถุดิบสำเร็จ (Raw Meal Homogenizing Silo) เพื่อเก็บและผสมวัตถุดิบสำเร็จ
ให้เป็นเนื้อเดียวกัน
ขั้นตอนที่ 5 จะเป็นกระบวนการเผา โดยวัตถุดิบสำเร็จจะถูกส่งไปเผาในหม้อเผาแบบหมุน (Rotary Kiln) โดยกระบวนการเผาช่วงแรกเป็น ชุดเพิ่มความร้อน (Preheater) ซึ่งจะค่อยๆ เพิ่มความร้อนให้แก่วัตถุดิบสำเร็จ
แล้วส่งวัตถุดิบสำเร็จไปเผาในหม้อเผา ซึ่งมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นจนถึงประมาณ 1,200 –1,400 องศาเซลเซียส จะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีตามลำดับ จนในที่สุดกลายเป็นปูนเม็ด (Clinker)
ขั้นตอนที่ 6 เป็นการทำให้ปูนเม็ดเย็นลงโดยการนำปูนเม็ด (Clinker) ไปผ่านหม้อเย็น (Clinker cooler)
ขั้นตอนที่ 7 ลำเลียงปูนเม็ดไปเก็บไว้ที่ยุ้งเก็บเพื่อรอการบดปูนเม็ดต่อไป
ขั้นตอนที่ 8 เป็นขั้นตอนการบดปูนเม็ดให้กลายเป็นปูนซีเมนต์ ทำโดยนำปูนเม็ดมาผสมกับยิปซัม (Gypsum) ที่ถูกย่อยแล้ว จากนั้นก็บดให้ละเอียดเป็นผงในหม้อบดซีเมนต์ (Cement Mill) ความละเอียดในการบด
และอัตราส่วนระหว่างปูนเม็ดกับยิปซัมต้องเลือกอย่างเหมาะสม เพื่อให้ได้ปูนซีเมนต์ที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ
ขั้นตอนที่ 9 จากนั้นปูนซีเมนต์จะผ่านเครื่องแยกปูนละเอียด แล้วจะถูกลำเลียงไปเก็บไว้ในยุ้งเก็บปูนซีเมนต์ผง (Cement Silo) เพื่อรอการจำหน่ายต่อไป

รูปกรรมวิธีการผลิตปูนซีเมนต์แบบแห้ง
ที่มา: สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ 24 หน้า 198
2.5.4 โครงสร้างการผลิต
ผู้ผลิตอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ แบ่งออกเป็น ผู้ผลิตรายใหญ่ 5 ราย ได้แก่ บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) บริษัททีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน)
บริษัทชลประทานซีเมนต์ จำกัด (มหาชน) บริษัทปูนซีเมนต์เอเชีย จำกัด (มหาชน) ส่วนผู้ผลิตรายเล็ก ได้แก่ บริษัทเซเม็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ไทยสถาปนา จำกัด และบริษัท สามัคคีซีเมนต์ จำกัด
รูปส่วนแบ่งการตลาดอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
โครงสร้างต้นทุนการผลิต: โครงสร้างต้นทุนการผลิตปูนซีเมนต์ประกอบด้วย 2 ส่วนที่สำคัญ คือ ต้นทุนด้านการผลิตและต้นทุนด้านการบริหารจัดการ ต้นทุนดังกล่าวมีสัดส่วนอยู่ที่ 67 : 33
และในส่วนของต้นทุนการผลิตจะมีสัดส่วนค่าพลังงานสูงถึง ร้อยละ 45 ดังนั้นในกรณีที่ราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้าปรับตัวสูงขึ้นจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตปูนซีเมนต์
รูปโครงสร้างต้นทุนรวมและโครงสร้างต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อภาวะทางอุตสาหกรรม
ความผันผวนของราคาเชื้อเพลิงและวัตถุดิบหลัก ซึ่งได้แก่
ถ่านหิน (Coal) เป็นเชื้อเพลิงหลักที่ใช้ในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และกระดาษ ในปี นี้ ราคาถ่านหินยังคงผันผวนมาก โดยราคาเฉลี่ยของถ่านหิน Newcastle อยู่ที่ 121 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน
เพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ย 22 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 22 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยช่วงต้นปีเกิดเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นพายุหิมะในจีนหรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิด ทำให้อุปสงค์ของ
ถ่านหินเพิ่มขึ้นขณะที่ช่วงครึ่งปีหลังวิกฤตหนี้ของยุโรปได้ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว อุปสงค์ของถ่านหินลดลง ทำให้ราคาถ่านหินลดลง อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวแนวโน้มอุปสงค์ของถ่านหินจะยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราส่วน
ที่สูงกว่าอุปทาน จากปริมาณความต้องการถ่านหินในประเทศจีน อินเดีย และประเทศต่างๆ ทั่วโลก มีผลทำให้ต้นทุนการผลิตปูนซีเมนต์และกระดาษเพิ่มขึ้น
ปัจจัยด้านวัตถุดิบ
วัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตปูนเม็ด คือ หินปูน ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 79 ของน้ำหนักปูนเม็ด รวมทั้งหินดินดาน (Alumina Shale) และทราย ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 12 และร้อยละ 5 น้ำหนัก
ปูนเม็ด ตามลำดับ สำหรับวัตถุดิบอื่น ประกอบด้วย ยิบซัม เหล็ก และ Diorite Red ทั้งนี้ การคำนวณส่วนประกอบของวัตถุดิบในการผลิตจะขึ้นอยู่กับสัดส่วนของการใช้
ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
เพื่อให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ จึงต้องมีการประเมินความเสี่ยงผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนในหลาย Scenario และมีการนำ Sensitivity Analysis มาใช้วิเคราะห์
ทำให้สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นและกำหนดกลยุทธ์ในการตอบสนองความเสี่ยงได้อย่างทันกาล เพื่อลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
ความเสี่ยงด้านสังคม
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงไปและมีแนวโน้มในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ปูนเม็ด และปูนสำเร็จรูปในประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคอาเซียนเป็นอุตสาหกรรมที่มีอัตราการขยายตัวสอดคล้องกับอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ
(Gross Domestic Product หรือ GDP) แต่มีการเคลื่อนไหวที่ผันผวนมากกว่า กล่าวคือ เมื่อเศรษฐกิจขยายตัว ปริมาณการบริโภคปูนซีเมนต์จะเติบโตตามในอัตราที่สูงและรวดเร็วกว่า และหากเศรษฐกิจเกิดการชะลอตัว
ปริมาณการบริโภคปูนซีเมนต์ก็จะชะลอตัวตามด้วยอัตราที่สูงและรวดเร็ว
ตารางอัตราการขยายตัวของการก่อสร้าง
สาขาอุตสาหกรรม
|
2550
|
2551
|
2552
|
2553
|
2554 P
|
2555 P1
|
2007
|
2008
|
2009
|
2010
|
2011 P
|
2012 P1
|
นอกภาคเกษตร
|
5.8
|
1.5
|
-0.9
|
8.2
|
-0.3
|
6.7
|
สาขาเหมืองแร่ (รวมแร่เชื้อเพลิง)
|
4.0
|
4.5
|
0.1
|
5.4
|
-3.7
|
8.2
|
สาขาอุตสาหกรรม
|
7.2
|
2.4
|
-3.4
|
11.4
|
-4.8
|
6.9
|
สาขาไฟฟ้า ก๊าซ และประปา
|
5.5
|
5.3
|
3.8
|
6.6
|
1.4
|
9.7
|
สาขาการก่อสร้าง
|
3.9
|
-5.3
|
3.6
|
8.6
|
-11.2
|
7.8
|
โครงการก่อสร้างภาคเอกชนแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ การก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัย การก่อสร้างเชิงพาณิชย์ และการก่อสร้างทางอุตสาหกรรม จากกราฟข้างต้น จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา พื้นที่ที่ได้รับอนุญาต
การก่อสร้างได้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องจากอัตราการเติบโตติดลบร้อยละ 65.8 ในปี 2541 ขึ้นมาเป็นบวกร้อยละ 55.1 ในปี 2545 โดยส่วนใหญ่เป็นการเจริญเติบโตของการก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัยและการก่อสร้าง
เชิงพาณิชย์ ในขณะที่การก่อสร้างทางอุตสาหกรรมอยู่ในระดับที่ทรงตัว
รูปแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานประเทศ ปี 2556
การลงทุนในโครงการก่อสร้างทางด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของประเทศก็เป็นหนึ่งในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ทำประมาณการ
ไว้ว่าในช่วงปี 2543-2549 จะมีการลงทุนขนาดใหญ่ด้านโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของประเทศในสาขาต่างๆ ได้แก่ การขนส่ง พลังงาน สาธารณูปการ ชลประทาน และสื่อสารโทรคมนาคม จำนวน 95
โครงการ เช่น โครงการรถไฟฟ้ามหานคร โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อน โครงการคลองประปาฝั่งตะวันตก โครงการบำบัดน้ำเสีย โครงการปรับปรุงกิจการประปา
เป็นต้น วงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้นประมาณ 1.1 ล้านล้านบาท ซึ่งจะเป็นการลงทุนโดยภาครัฐจำนวนประมาณ 890,000 ล้านบาท และโดยภาคเอกชน จำนวนประมาณ 196,000 ล้านบาท
2.5.6 ราคาตลาดล่วงหน้า
ถ่านหินเป็นแร่ที่มีราคาผันผวนเช่นเดียวกันกับเชื่อเพลิงประเภทอื่นๆ ซึ่งราคาถ่านหินจะผันผวนมากน้อย อยู่กับปัจจัยที่ต้องอิงกับสถานการณ์เศรษฐกิจในตลาดโลก