อุตสาหกรรมยางรถยนต์
อุตสาหกรรมยางรถยนต์ เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีบทบาทต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะด้านการลงทุนและการจ้างงาน นอกจากนี้ยังเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่อง จากอุตสาหกรรมรถยนต์
ฉะนั้นการศึกษาใดๆเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปทางด้านการผลิตและการตลาด ของอุตสาหกรรมยางรถยนต์จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องศึกษา เพื่อเป็นกรอบแนวคิดเบื้องต้นในการกำหนดปัจจัยทางด้านอุปสงค์และปัจจัยทางด้านอุปทาน
อันเป็นสาเหตุทำให้ราคาของยางรถยนต์เปลี่ยนแปลง
- โครงสร้างพื้นฐานของยางรถยนต์สามารถจำแนกส่วนประกอบออกได้เป็น 6 ส่วน ดังนี้
-
หน้ายาง (Tread)
-
ไหล่ยาง (Shoulder)
-
แก้มยาง (Sidewall)
-
โครงยาง (Carcass)
-
ผ้าใบเสริมหน้ายางหรือเข็มขัดรัดหน้ายาง (Breaker or Belt)
-
ขอบยาง (Bead)
⇒ส่วนประกอบแต่ละส่วนถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับหน้าที่และประสิทธิภาพในการใช้งาน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
♦ หน้ายาง (Tread) คือส่วนประกอบที่อยู่นอกสุดของยาง และเป็นส่วนเดียวที่สัมผัสผิวถนน ทำหน้าที่ป้องกันของมีคม ที่จะทำอันตราย ต่อโครงยาง ที่หน้ายางจะประกอบไปด้วยดอกยางและร่องยาง
เพื่อทำหน้าที่ในการยึดเกาะถนน มีแรงกรุยเวลาวิ่ง เบรคหยุดได้มั่นใจ ในปัจจุบัน ดอกยางมีอยู่หลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะมีประสิทธิภาพที่แตกต่างกันออกไปดังนั้น ผู้ใช้จึงควรเลือกชนิดของดอกยาง
ให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน
♦ ไหล่ยาง (Shoulder) เป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างหน้ายางกับแก้มยาง มีความหนาพอๆ กับหน้ายาง ปกติไหล่ยาง จะถูกออกแบบเป็นร่องให้เหมาะสม เพื่อช่วยระบายความร้อนภายในยางให้ออกมาได้ง่าย
♦ แก้มยาง (Sidewall) เป็นส่วนด้านข้างสุดของยาง ที่ไม่ได้สัมผัสพื้นผิวถนนขณะที่รถวิ่งอยู่และเป็นส่วนที่ยืดหยุ่นมากที่สุดของยางในขณะใช้งาน
♦ โครงยาง (Carcass) เป็นส่วนประกอบหลักของยาง ซึ่งมีบทบาทสำคัญ ที่คงรูปร่าง และจะรักษาความดันลมภายในยาง เพื่อให้ยางสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ รวมทั้งต้องทนทานต่อแรงกระแทก
หรือสั่นสะเทือนจากถนนที่มีต่อยางได้ดี
♦ผ้าใบเสริมหน้ายาง หรือเข็มขัดรัดหน้ายาง (Breaker or Belt) เป็นชั้นที่อยู่ระหว่างหน้ายาง (Tread) กับโครงยาง (Carcass) ในกรณียางธรรมดา (Bias Tire) เราเรียกว่า “ผ้าใบเสริมหน้ายาง
(Breaker)”และในกรณียางเรเดียล (RadialTire) จะเรียกว่า “เข็มขัดรัดหน้ายาง (Belt)” ซึ่งทำหน้าที่เพิ่มความแข็งแรง ให้กับหน้ายาง ให้ยางสามารถรับแรงกระแทกได้ดี และป้องกันไม่ให้โครงยาง
ชำรุดเสียหายจากสิ่งอันตรายต่างๆ จากพื้นถนน
♦ ขอบยาง (Bead) ประกอบด้วยกลุ่มของเส้นลวดเหล็กกล้า (High Carbon Steel) ที่ช่วยยึดส่วนปลายทั้ง 2 ข้างของโครงยางเอาไว้ เพื่อให้บริเวณขอบยาง (Bead) มีความแข็งแรง สามารถยึดแน่นสนิท
กับกระทะล้อได้ดีเมื่อนำไปใช้งานสำหรับยางรถยนต์ที่ไม่ใช้ยางใน (Tubeless Tire) ขอบยางเป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่จะต้องทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ลมยางรั่วซึมออกมา
นอกจากนี้ ยังมียางรถยนต์ยังมีส่วนประกอบย่อยอื่นๆ เช่น ผ้าใบหุ้มขดลวดและยางแข็งๆ ที่มีลักษณะคล้ายสามเหลี่ยม (Bead Filer) ทำหน้าที่เชื่อมต่อ ระหว่างส่วนที่แข็ง คือบริเวณขอบยาง ไปสู่ส่วนที่อ่อน
และยืดหยุ่น คือบริเวณแก้มยาง และยังมีผ้าใบหุ้มขอบลวดที่อยู่ด้านนอกสุดของขอบยาง เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายกับโครงยาง จากการถอดประกอบเข้ากับกระทะล้อในแต่ละครั้ง
The tire making process (see schematic below) starts by mixing different varieties of rubber with process oils, carbon black, pigments, antioxidants, accelerators and other additives, each of which contributes certain properties to the compound
รูปแสดง schematic of Tire Processing & Production
วิธีการคือ นำเส้นลวดมาทำเป็นขอบยางรถยนต์ คือ การดึงเส้นลวดมาในสายการผลิต แล้วทำการฉาบด้วยยาง จากนั้นนำไปขึ้นรูปขอบลวด เส้นลวดที่ใช้ในการผลิตแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. เส้นลวดประเภท Bead Wire สำหรับทำขอบยาง
2. เส้นลวดประเภท Steel Cord เป็นเส้นลวดใยเหล็กที่ใช้กับยาง Radial หมายเหตุ เมื่อผ่านขั้นตอนที่ 2 แล้วจะได้ขอบลวดออกมา (Bead Rings)
ขั้นที่ 3 การทำโครงผ้าใบและการฉาบยางกับผ้าใบ เมื่อผ่านขั้นตอนนี้แล้วนำแผ่นยางไปตัด ก็จะได้ โครงผ้าใบและเข็มขัดรัดหน้ายางเส้นลวด
ขั้นที่ 4 การทำเส้นลวดเหล็กและการฉาบยางกับเส้นลวด เมื่อผ่านขั้นตอนนี้แล้วจะได้เข็มขัดรัดหน้ายาง
ขั้นที่ 5 การดันเนื้อยางเพื่อขึ้นรูปแก้มยางและหน้ายาง เมื่อผ่านขั้นตอนนี้แล้ว จะได้โครงยางสำเร็จรูป (Green Tire)
ขั้นที่ 7 การอบยาง (Curing Machine) เครื่องอบยาง (Curing Press) เป็นเครื่องจักรที่ทำหน้าที่อัดลายดอกยางลงบนโครงยางสำเร็จรูป เครื่องจักรมีลักษณะเป็นฝาครอบเปิด-ปิด ได้
ภายในมีแม่พิมพ์ของลายดอกยางและช่องผ่านไอความร้อน เพื่ออัดลายดอกยางและอบให้ยางสุก
ขั้นที่ 8 ตัดเนื้อยางส่วนที่เกิน (Trimming)
ขั้นที่ 9 ตรวจสอบความสมดุลของยาง
ขั้นที่ 10 ได้ยางที่มีคุณภาพตามลักษณะการใช้งาน
เครื่องจักรสำหรับขึ้นรูปยาง เป็นการนำเอายางที่ผสมแล้ว มาขึ้นรูปเป็นลักษณะของชิ้นส่วนต่าง ๆ โดยอาจนำปัจจัยการผลิตอื่น ๆ เช่น ผ้าใบ เข้ามาเป็นส่วนประกอบ 1
เครื่องจักรที่ใช้ในการขึ้นรูปยาง มี 2 ลักษณะคือ
- เครื่องจักรประเภท (Extrusion) เป็นเครื่องจักรที่ใช้ขึ้นรูปยาง โดยอาศัยแรงดันจากการหมุนของสกรูดันยางผสมผ่านแม่พิมพ์ออกมา Extrusion ใช้ในการขึ้นรูปยางในส่วนของโครงยางและขอบยาง
- เครื่องจักรประเภท (Calendar) เป็นเครื่องจักรที่ขึ้นรูปยางโดยลักษณะการรีดยาง โดยลักษณะการรีดยางผสมที่เคลือบหรือฉาบกับวัสดุอื่น ๆ ให้เป็นแผ่นที่มีความหนา โดยอาศัยการรีดผ่านลูกกลิ้ง
จำนวน 2 ลูกในเครื่องจักร ใช้สำหรับขึ้นรูปในส่วนของชั้นผ้าใบ และเข็มขัดรัดหน้ายางในกรณีที่เป็นยางเรเดียล
ขั้นที่ 6 การประกอบโครงยาง
ขั้นที่ 1 การผสมวัตถุดิบ (Mixing) ส่วนผสม
ยางธรรมชาติ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการผลิตยางรถยนต์ คือ ช่วยทำให้ยางมีความยืดหยุ่นทนต่อแรงกระแทกและแรงดึงได้ดี แต่ยางธรรมชาติมีข้อจำกัด คือ เหมาะที่ใช้ในอุณหภูมิช่วง -40
ถึง 70 องศาเซลเซียส และไม่สามารถทนต่อน้ำมันบางประเภทได้
ยางสังเคราะห์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง ให้มีคุณสมบัติเหนือยางธรรมชาติ ยางสังเคราะห์สามารถจำแนกออกได้ เป็น 2 กลุ่ม คือ
► กลุ่ม 1 ยางที่มีคุณสมบัติทนความร้อนได้ดีกว่ายางธรรมชาติ แต่คุณสมบัติทานด้านความเหนียวและความยืดหยุ่นด้อยกว่ายางธรรมชาติ ยางสังเคราะห์กลุ่มนี้ ได้แก่ SRB
(Styrene - Butadiene Rubber), BR (Polybutadiene Rubber)
► กลุ่มที่ 2 เป็นยางที่มีคุณสมบัติทนต่อน้ำมัน ทนต่อความร้อนและโอโซน ยางสังเคราะห์ในกลุ่มนี้ เช่น CR (Chloroprene Neoprebe Rubber), NBR
(Acrylomitrile Butadiene uilites) Rubber )
ผงเขม่าดำ (Carbon Black) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากน้ำมันดิบ คุณสมบัติช่วยให้ยางแข็งตัว เพื่อเพิ่มความทนทานของยาง และทนต่อรอยขีดขวนต่าง ๆ
สารเคมีต่าง ๆ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ในการผสมยางธรรมชาติ ยางสังเคราะห์ และผงเขม่าดำ เพื่อเร่งปฏิกิริยาในการผลิต และเตรียมเป็น Compound Rubber ที่พร้อมนำไปขึ้นรูป สารเคมีที่ใช้แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ
1. สารที่ทำให้ยางคงรูป (Vulcanizing Agent) ใส่เพื่อให้สถานะของยางอยู่สถานะยืดหยุ่นได้ กลุ่มนี้ได้แก่ กำมะถัน
2. สารป้องกันบางเสื่อมสภาพ (Protective Agent) สารกลุ่มที่ได้แก่ สารโอโซน
3. สารช่วยในกระบวนการผลิต เช่น น้ำมัน ช่วยให้ยางที่ทำการผสมมีคุณสมบัตินิ่มนวล
4. สารอื่น ๆ เช่น สารที่ทำให้ยางฟู หรือใส่ให้ยางมีสีต่าง ๆ
ขั้นที่ 2 การทำลวดขอบยาง (Bundling), การฉาบยาง (Coating) การขึ้นรูปขอบลวด(Foaming)
รูปแสดง กระบวนการผลิตยางรถยนต์
การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ
การผลิตยางแปรรูปขั้นต้น ในปี 2554 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.97 เมื่อเทียบกับปีก่อนสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ยางที่สำคัญ เช่น การผลิตยางนอกรถยนต์ ยางนอกรถจักรยานยนต์/รถจักรยานยางในถุงมือยาง
ถุงมือตรวจ เมื่อเทียบกับปีก่อน การผลิตยางนอกรถยนต์ ยางนอกรถจักรยานยนต์/รถจักรยาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.98 และ 11.12 ตามลำดับ สำหรับการผลิตยางใน ลดลงร้อยละ 8.40 ในส่วนของการผลิตถุงมือยาง ถุงมือตรวจ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.00 การผลิตยางแปรรูปขั้นต้นขยายตัวเพิ่มขึ้น รวมทั้งการผลิตผลิตภัณฑ์ยางขยายตัวเกือบทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะยางยานพาหนะ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มขยายตัว อุตสาหกรรมรถยนต์
กลับมาขยายตัวอีกครั้ง ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ยางยานพาหนะขยายตัวตามไปด้วย
สำหรับในส่วนของการผลิตยาง ในช่วงครึ่งปีแรก มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ยางในรถจักรยานยนต์จากจีนมากผิดปกติ โดยที่ผลิตภัณฑ์ยางในรถจักรยานยนต์จากจีนถึงแม้จะถูกเก็บภาษีนำเข้าร้อยละ 10 แล้ว ยังมีราคาขายต่ำ
กว่ายางในภายในประเทศมากกว่าร้อยละ 50 เนื่องจากสินค้าจากจีนมีต้นทุนที่ต่ำมาก ซึ่งส่งผล ให้การผลิตโดยรวมของอุตสาหกรรมยางในภายในประเทศลดลง สำหรับในส่วนของการผลิตถุงมือยาง ถุงมือตรวจ
ยังคงขยายตัวได้ดี เนื่องจากเป็นสิ่งจำเป็นที่ใช้ในทางการแพทย์ และใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารและบริการ อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายปีเกิดภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ทำให้โรงงานผลิต
ยานยนต์ขนาดใหญ่หลายแห่งต้องหยุดการผลิตชั่วคราว ทำให้อุตสาหกรรมยางยานพาหนะชะลอตัวตามไปด้วย ซึ่งอาจส่งผลทำให้การขยายตัวของอุตสาหกรรมยางยานพาหนะไม่ขยายตัวอย่างที่คาดเอาไว้
ในช่วงต้นปี สำหรับอุตสาหกรรมถุงมือยาง ถุงมือตรวจ ไม่ได้รับผลกระทบเนื่องจากส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ภาคใต้
การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นต้นในประเทศ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 12.6 การจำหน่ายยางนอกรถยนต์ ยางนอกรถจักรยานยนต์/รถจักรยาน มีการปริมาณการจำหน่ายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.08 และ 0.56 ตามลำดับ
สำหรับการจำหน่ายยางใน ลดลงร้อยละ 14.91 และในส่วนของถุงมือยางถุงมือตรวจ มีปริมาณการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.37 การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นต้นและผลิตภัณฑ์ยางในประเทศยังขยายตัวได้ดีตามภาวะเศรษฐกิจ
ที่ฟื้นตัวขึ้น ความต้องการใช้ยางเพื่อนำไปผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในประเทศยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ยางนอกรถยนต์ ยางนอกรถจักรยานยนต์/รถจักรยาน
อย่างไรก็ตาม ปัญหาน้ำท่วมที่ส่งผลกระทบในทางอ้อมต่ออุตสาหกรรมยางยานพาหนะ อาจจะทำให้การเติบโตไม่เพิ่มขึ้นอย่างที่คาดไว้ในช่วงต้นปีในส่วนของการจำหน่ายยางในภายในประเทศลดลง เนื่องจาก
ในช่วงครึ่งปีแรกมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ยางในรถจักรยานยนต์จากจีนมากผิดปกติ ซึ่งยางในที่นำเข้าจากประเทศจีนมีราคาต่ำกว่ายางในภายในประเทศมาก จึงส่งผลกระทบต่อการจำหน่ายภายในประเทศ ในส่วนของ
ถุงมือยาง ถุงมือตรวจ ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นสิ่งจำเป็นที่ใช้ในทางการแพทย์ และใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารและบริการ
การส่งออกและการนำเข้า
ในปี 2554 การส่งออกยางแปรรูปขั้นต้นของไทย ประกอบด้วย ยางแผ่น ยางแท่งน้ำยางข้น และยางพาราอื่นๆ คาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออก 13,599.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีก่อน มูลค่าการส่งออกยาง
แปรรูปขั้นต้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.23โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ ประเทศจีน มาเลเซียญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งประกอบด้วย ยางยานพาหนะ ถุงมือยาง ยางรัดของหลอดและท่อ
สายพานลำเลียงและส่งกำลัง ผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ในทางเภสัชกรรม ยางวัลคาไนซ์ และผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ ซึ่งคาดว่ามีมูลค่าการส่งออก 8,341.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.64
มูลค่าการส่งออกยางแปรรูปขั้นต้น และผลิตภัณฑ์ยางที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นนี้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น จึงมีความต้องการใช้ยางพารา เพื่อนำไปผลิตผลิตภัณฑ์ยางต่างๆ ที่สำคัญ ซึ่งนอกจากจีนและอินเดีย
เป็นประเทศผู้ใช้ยางที่สำคัญ มีการนำเข้ายางธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามอุตสาหกรรมรถยนต์ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ปริมาณการผลิตยางภายในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศแล้ว
บราซิลก็เป็นตลาดส่งออกที่ถือว่าขยายตัวได้ดี มีความต้องการใช้ยางเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ยางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ มูลค่าการส่งออกที่เพิ่มมากขึ้นเกือบหนึ่งเท่าตัวนี้ ส่วนหนึ่งมาจากราคายางพาราในช่วงต้นปีอยู่ในระดับสูงมาก สำหรับผลิตภัณฑ์ยางมีการขยายตัวในทุกผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์
ที่ขยายตัวมาก ตามอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เติบโตขึ้น ในส่วนของความต้องการถุงมือยาง ถุงมือตรวจ ในตลาดโลกยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากกระแสความวิตกกังวลการรักษาสุขภาพอนามัย
ของผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคทั่วโลกตื่นตัวมากขึ้นต่อการป้องกันโรคติดต่อ โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และ สหราชอาณาจักร สำหรับประเทศคู่แข่งที่สำคัญ คือ มาเลเซีย จีนและอินโดนีเซีย
นอกจากนี้ กรอบข้อตกลง FTA ก็มีส่วนช่วยผลักดันการส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์ให้ขยายตัวขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่ามูลค่าการส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ยางจะเพิ่มมากขึ้น แต่การแข็งค่าของเงินบาท
ในช่วงที่ผ่านมา ก็ส่งผลกระทบต่อรายได้และความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการเช่นกัน
การนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาง ยางและเศษยาง และวัสดุทำจากยาง คาดว่าจะมีมูลค่า 2,272.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.05 โดยเฉพาะวัสดุทำจากยางในผลิตภัณฑ์
กระเบื้องปูพื้นปิดผนัง เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัว การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจภายในประเทศปรับตัวดีขึ้น ทำให้ความต้องการใช้ยางของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น อีกทั้งกรอบข้อตกลง FTA ก็มีส่วนให้การนำ
เข้ายางพาราและผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นด้วย
อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางขยายตัว ตั้งแต่ต้นปี 2553 ต่อเนื่องจนถึงปี 2554 ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์กลับมาขยายตัวอีกครั้ง ส่งผลต่อผลิตภัณฑ์ยางยานพาหนะ
ขยายตัวตามไปด้วย ยกเว้นผลิตภัณฑ์ยางในรถจักรยานยนต์ ที่มีปริมาณการผลิตและการจำหน่ายในประเทศลดลง เนื่องจากมีการนำเข้าสินค้ายางในจักรยานยนต์จากประเทศจีนเข้ามามากผิดปกติ ทำให้ผู้ประกอบการ
ต้องลดการผลิตลง อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสที่ 3เกิดภาวะน้ำท่วมทำให้โรงงานผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่หยุดการผลิตเป็นการชั่วคราว ส่งผลต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมยางรถยนต์ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาสัดส่วน
การผลิตยางรถยนต์เพื่อการส่งออกอยู่ที่ร้อยละ 50 และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50ทั้งนี้โรงงานผลิตรถยนต์ที่ปิดตัวไปนั้น บางแห่งจะสามารถกลับมาดำเนินการผลิตได้ก่อนสิ้นปี ทำให้สถานการณ์อุตสาหกรรม
ยางรถยนต์ปรับตัวดีขึ้น ในระดับหนึ่ง สำหรับในส่วนของการผลิตถุงมือยาง ถุงมือตรวจ ยังขยายตัวได้ดี เนื่องจากเป็นสิ่งจำเป็นที่ใช้ในทางการแพทย์และใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารและบริการ
อีกทั้งโรงงานผลิตถุงมือยาง ถุงมือตรวจ ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม เนื่องจากส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ภาคใต้
เเนวโน้มปี 2555 คาดว่าอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง จะขยายตัวได้ดีตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในตลาดโลก สำหรับในส่วนของอุตสาหกรรมยางยานพาหนะผู้ประกอบการวางแผนเพิ่มสัดส่วน
การส่งออกเป็นร้อยละ 80เพื่อทดแทนตลาดอุตสาหกรรมยางยานพาหนะภายในประเทศที่ชะลอตัวลงจากการที่อุตสาหกรรมรถยนต์ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม อย่างไรก็ตาม โรงงานผลิตรถยนต์ที่ปิดตัวไปนั้น
บางแห่งสามารถดำเนินการผลิตได้อีกครั้งก่อนสิ้นปี 2554 บางแห่งจะสามารถกลับมาดำเนินการผลิตได้อย่างเต็มที่ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2555 ซึ่งคาดว่าจะทำให้อุตสาหกรรมยางยานพาหนะสามารถฟื้นตัวขึ้นได้อีกครั้ง
สำหรับ ในส่วนของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ และอุตสาหกรรมถุงมือยาง ถุงมือตรวจ คาดว่าจะยังขยายตัวได้ดีโดยเฉพาะถุงมือยาง ถุงมือตรวจ ยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่องในตลาดโลก ตามกระแสความวิตกกังวล
การรักษาสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค
การส่งออกขยายตัวได้ดีทั้งในส่วนของของยางแปรรูปขั้นต้นและผลิตภัณฑ์ยาง เนื่องจากความต้องการใช้ยางของตลาดโลกเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ยางต่างๆ ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้มูลค่าการส่งออกที่เพิ่มมากขึ้น
เกือบหนึ่งเท่าตัวนี้ ส่วนหนึ่งมาจากราคายางพาราในช่วงต้นปีอยู่ในระดับสูงมาก สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางมีการขยายตัวในทุกผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ที่ขยายตัวมากตามอุตสาหกรรมยานยนต์
ที่เติบโตขึ้น ในส่วนของความต้องการถุงมือยาง ถุงมือตรวจ ในตลาดโลกยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากกระแสความวิตกกังวลการรักษาสุขภาพอนามัยของผู้บริโภคแนวโน้มการส่งออกปี 255 คาดว่า
จะยังขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ยางแปรรูปขั้นต้นตามความต้องการของประเทศผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจีนและอินเดีย อีกทั้งบราซิลยังมีความต้องการใช้ยางเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ยางเพิ่มมากขึ้น
อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้บราซิลเป็นประเทศใหญ่จึงเป็นโอกาสที่ดีต่ออุตสาหกรรมยางพาราของไทย นอกจากนี้กรอบข้อตกลง FTA ก็มีส่วนช่วยผลักดันการส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตามประเด็นที่ต้องระวังคือผลของกรอบ FTA นอกจากจะช่วยผลักดันการส่งออกแล้ว ยังส่งผลให้การนำเข้ายางและผลิตภัณฑ์ยางเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกันอย่างไรก็ตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวยังคงมีความ
ไม่แน่นอนและผันผวน โดยเฉพาะวิกฤตหนี้สินในสหรัฐอเมริกาและยุโรปอาจจะยืดเยื้อและขยายตัวเป็นวงกว้าง รวมทั้งการแข็งค่าของเงินบาทส่งผลกระทบต่อศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกของสินค้าไทยและรายได้
ของผู้ส่งออกสำหรับด้านราคายางพาราในปี 255 มีแนวโน้มที่จะปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากความต้องการใช้ยางพาราในตลาดโลกที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งทิศทางราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ซึ่งน้ำมันเป็นวัตถุดิบ
สำคัญในการผลิตยางสังเคราะห์ เมื่อราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตยางสังเคราะห์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทำให้ผู้ผลิตหันมาใช้ยางธรรมชาติมากขึ้น นอกจากนี้ในช่วงต้นปีเป็นฤดูยางผลัดใบต้องพักกรีดยาง
ซึ่งจะทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง ซึ่งจะทำให้ราคายางปรับตัวขึ้น
โครงสร้างตลาดยางพาราของโลก
ภาพรวมด้านอุปทาน อุปสงค์ และราคายางพาราในตลาดโลก การนำเสนอเนื้อหาและข้อมูลในตอนนี้เป็นการนำเสนอภาวะอุปสงค์และอุปทานยางพาราของโลกและประเทศไทย
ในระหว่างปี พ.ศ. 2545 - 2551 ซึ่งทำการเรียบเรียงเนื้อหาโดยใช้ข้อมูลเนื้อหาและข้อมูลสถิติจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งความสมบูรณ์ของข้อมูลขึ้นอยู่กับการรายงานจากแหล่งข้อมูลนั้นๆ
ดังนั้น การนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานนั้นควรจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งที่มา ณ ช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงไป ทั้งจากการรายงานข้อมูลเพิ่มเติม
หรือมีการประมาณการตัวเลขขึ้นใหม่ และรวมถึงการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลที่ผิดผลาด
ภาพรวมการผลิต การใช้ การค้า และสต็อกยางพาราของโลก
ที่มา:http://www.aftc.or.th/itc/products_analyze.php?id=132&fgrp_id=1&fmnu_id=2
- ตัวแปรที่ส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิต และปริมาณการส่งออกยางพาราของ
ประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางพาราที่สำคัญ
- ตัวแปรที่ส่งผลกระทบต่อปริมาณการใช้ และปริมาณการนำเข้ายางพารา
ของประเทศผู้ใช้และนำเข้ายางพาราที่สำคัญ
ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อปริมาณการใช้ยางพาราของโลกมีเพิ่มขึ้น/ลดลง ปัจจัยหนึ่งคือการขยาย/หดตัวของ
อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ
หากอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ขยายตัว จะส่งผลให้มีการใช้ยางพาราเพิ่มมากขึ้น

พื้นที่ปลูกยางของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นสวนยางขนาดเล็ก ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในภาคใต้ ชาวสวนส่วนมากผลิตเป็นยางแผ่นดิบ มีจำนวนน้อยเท่านั้นที่นิยมขายน้ำยางสด จากการที่เป็นสวนขนาดเล็กและ
อยู่อย่างกระจัดกระจายนั้นจึงก่อให้เกิดพ่อค้ายางหรือผู้รับซื้อยางจำนวนมากและหลายระดับในระบบตลาดยางของประเทศไทย จากตัวเลขในปี 2541 พบว่ามีจำนวนพ่อค้ายางรับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย
จำนวน 2,600 รายและถ้ารวมพ่อค้าที่ไม่ได้รับอนุญาตแล้วจะมีจำนวนพ่อค้ายางทั้งสิ้นประมาณ 3,000 ราย ซึ่งสามารถแบ่งพ่อค้าเหล่านี้ได้เป็น 4 ระดับ คือ
1.ผู้รับซื้อในหมู่บ้าน/ตำบลซึ่งมักจะซื้อยางจากสวนยางขนาดเล็กในพื้นที่ใกล้ ๆ แล้วรวบรวมส่งร้านรับซื้อยางที่ตลาดในอำเภอหรือจังหวัดต่อไป
2.ร้านรับซื้อยางในตลาดอำเภอ ส่วนใหญ่จะนำยางที่รับซื้อไปส่งขายให้แก่ร้านรับซื้อในระดับจังหวัด แต่ถ้าเป็นร้านรับซื้อในอำเภอที่ใกล้ชุมทางให้แหล่งปลูกยางหนาแน่นที่ซื้อยางได้มากจะนำ
ไปส่งให้แก่โรงงานของผู้ส่งออกโดยตรง
3.ร้านรับซื้อในตัวจังหวัด ส่วนใหญ่จะรับซื้อยางจากพ่อค้ารับซื้อยางในระดับหมู่บ้าน ตำบลหรืออำเภอ ซึ่งจะนำยางใส่รถบรรทุกขนาดเล็กไปส่งขาย
4.โรงรมควันยาง จะไม่รับซื้อยางในปริมาณน้อย ๆ แต่จะซื้อยางจากพ่อค้าคนกลางที่มียางอยู่จำนวนมากและสม่ำเสมอให้นำส่งยางเป็นประจำโดยรถบรรทุกขนาดกลาง และเจ้าของโรงงานซึ่งส่วนใหญ่
เป็นผู้ส่งออกยางด้วยจะยังทำหน้าที่เป็นผู้ให้สินเชื่อเพื่อใช้ซื้อยางในระดับล่างต่อมา
หลังจากรมควันและหีบห่อยางเรียบร้อยแล้ว ยางจะถูกนำส่งออกไปยังผู้สั่งซื้อในต่างประเทศส่วนใหญ่ในราคา FOB. ซึ่งเป็นไปตามความเคลื่อนไหวของตลาดสำคัญ คือตลาดล่วงหน้าญี่ปุ่นและสิงคโปร์
พ่อค้าส่งออกจะหักค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดจากการรมควัน ค่าปลูกแทนและค่าใช้จ่ายในการส่งออก ที่เหลือจึงเป็นราคารับซื้อจากสวน สภาพตลาดยางในประเทศไทยมีการแข่งขันสูงเนื่องจากมีจำนวนพ่อค้าแย่งกันซื้อมาก
ส่วนชาวสวนเองนอกจากจะได้รับทราบความเคลื่อนไหวของราคายางจากประกาศของรัฐบาลเป็นประจำทุกวันแล้ว ยังรู้จักรวมตัวกันเพื่อสร้างอำนาจต่อรองมากขึ้น
ในด้านของการแปรรูปยางขั้นต้นและการค้ายางเพื่อเป็นวัตถุดิบ ในปี 2543 มีจำนวนผู้รับอนุญาตต่างๆ ตามพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ. 2542 คือ
1.ผู้ค้ายาง รวมทั้งสิ้น 2,514 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช กรุงเทพฯ สุราษฎร์ธานี ตรังและระยอง
2.ผู้ส่งออก รวมทั้งสิ้น 318 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดกรุงเทพฯ
3.โรงงานทำยางแผ่นผึ่งแห้ง รวมทั้งสิ้น 117 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัด ระยอง ยะลา ปัตตานีและจันทบุรี
4.โรงงานยางแผ่นรมควัน รวมทั้งสิ้น 356 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัด สงขลา พัทลุง และตรัง
5.โรงงานน้ำยางข้น รวมทั้งสิ้น 70 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัด สงขลา สตูล ยะลา และระยอง
6.โรงงานยางแท่ง รวมทั้งสิ้น 48 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัด สงขลา ยะลา ระยอง ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
7. โรงงานยางเครพ รวมทั้งสิ้น 55 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดระยอง ยะลา และนครศรีธรรมราช
8.โรงงานยางผสม รวมทั้งสิ้น 8 ราย กระจายอยู่ในจังหวัดกรุงเทพฯ ระยอง ชลบุรี ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ยะลาและประจวบคีรีขันธ์
9.ผู้แปลงขยายพันธ์เพื่อการค้า รวมทั้งสิ้น 356 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัด ระยอง ตรังและยะลา
10.ผู้วิเคราะห์ทดสอบยางพารา รวมทั้งสิ้น 32 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ระยองและ
สุราษฎร์ธานี
ส่วนในด้านการแปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์ นั้นในปี 2543 มีจำนวนโรงงานที่จดทะเบียนเพื่อเป็นผู้ใช้ยางแยกตามประเภทของผลิตภัณฑ์ คือ มีโรงงานยางรถยนต์จำนวน 12 โรงงาน ถุงมือยาง 17 โรงงาน
ยางรัดของ 13 โรงงาน ยางยืด 6 โรงงาน ยางรถจักรยานยนต์และจักรยาน 11 โรงงาน รองเท้ายาง 65 โรงงาน พื้นรองเท้า 21 โรงงาน และถุงยางอนามัยจำนวน 2 โรงงาน
ในส่วนของการลงทุนระหว่างประเทศนั้น จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการที่ค้ายางหลายรายในภาคใต้พบว่า ผู้ประกอบการเหล่านั้นเชื่อว่าต่างประเทศจะไม่ลงทุนในการทำผลิตภัณฑ์ยางในประเทศไทย
อาทิเช่น ผลิตภัณฑ์ dipping product เพราะคนไทยมีความชำนาญมากกว่าต่างประเทศ พร้อมทั้งสินค้านี้มีความต้องการจากต่างประเทศสูงอยู่แล้วจึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องอาศัยการร่วมทุนจากต่างประเทศ
เพื่อหาตลาด ส่วนตลาดยางล้อนั้นเนื่องจากยางธรรมชาติเป็นองค์ประกอบน้อยกว่าร้อยละ 10 ในการผลิตยางล้อโดยเฉลี่ย ส่วนที่เหลือเป็นวัตถุดิบอื่น ๆ ที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าและมีกำแพงภาษีในอัตราสูง
การลงทุนผลิตยางล้อในไทยจึงมีข้อจำกัดจากการนำเข้าวัตถุดิบอื่น ๆ ดังกล่าว นอกจากนั้น ผู้ประกอบการจากต่างประเทศมีความเข้าใจวัฒนธรรมการทำสวนยางน้อยกว่าไทยทำให้ยังไม่อยากเข้ามาลงทุน
ในธุรกิจสวนยาง มีเพียงแต่มาเลเซียที่เข้ามารับซื้อยางเพื่อไปแปรรูปเท่านั้น
ยุทธศาสตร์ยางพาราไทยที่ภาครัฐได้กำหนดขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหายางพาราให้มีประสิทธิภาพนั้น แบ่งออกเป็น 9 ประการ ดังต่อไปนี้
1. ปฏิรูประบบและการจัดการสถาบันยางพาราใหม่ทั้งหมด
2. ยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยาง และทำให้เกษตรกรชาวสวนยางได้ประโยชน์จากสวนยางอย่างเต็มที่ ทั้งมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
3. ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ยางที่ได้มาตรฐานสากลอย่างหลากหลายจากทุกระดับสังคม
4. ปฏิรูประบบวิจัยและพัฒนายาง
5. ปฏิรูประบบตลาดยางทุกด้าน
6. สร้างฐานข้อมูลยางพาราให้ครบถ้วน ถูกต้อง และเชื่อถือได้
7. สร้างเมืองยาง เพื่อให้เป็นศูนย์กลางของผลิตภัณฑ์ยางพารา
8. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยางและวิสาหกิจชุมชนมีส่วนร่วมในทุกด้าน
9. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคธุรกิจมีส่วนร่วมในทุกด้านและตามที่ประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ได้ตกลงความร่วมมือในการพัฒนาธุรกิจยางใน 3 ประเทศนั้น ก็มีเป้าหมายเพื่อยกระดับราคายางให้สูงขึ้น
ทั้ง 3 ประเทศจึงได้จัดตั้งองค์กรความร่วมมือด้านยางระหว่าง 3 ประเทศ (International Rubber Organization ITRO) เพื่อกำหนดมาตรการ และดำเนินงานร่วมกันให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว
ในส่วนของภาคเอกชนด้านยางพารา ได้รวมตัวกันจัดตั้งพันธมิตรทางการค้าของผู้ส่งออกยาง 3 ประเทศ (Tripatite Rubber Business Alliance TRBA) คือ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
ซึ่งประกอบด้วยสมาคมยางพาราไทย ตลาดแลกเปลี่ยนยางมาเลเซีย สหพันธ์สมาคมยางมาเลเซีย และสมาคมยางอินโดนีเซีย พันธมิตรดังกล่าวมีวัตถุประสงค์คือ
1. เพื่อสนับสนุนและร่วมมือกับภาครัฐในการพัฒนาธุรกิจยางใน 3 ประเทศ
2. เพื่อจัดตั้งองค์กรที่ไม่เป็นทางการ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็นอย่างอิสระ ตรงไปตรงมา ในการร่วมมือเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของ 3 ประเทศ
3. เพื่อกระตุ้นสมาชิกในการดำเนินงานร่วมกัน ในการพัฒนาตลาดยางและการส่งออกยางเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตยางในภาพรวม
4. เพื่อให้คำแนะนำและหารือเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติทางการค้าที้สามารถใช้ได้อย่างยุติธรรม และได้มาตรฐานตามระบบการค้ายางทั่วไปที่ผู้ใช้ยอมรับ เพื่อประโยชน์ร่วมกันของสมาชิก รวมทั้งการร่วมหารือในการแก้ปัญหา
ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการทำธุรกิจยาง
ราคาตลาดล่วงหน้า
ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าย่อมมีความสำคัญต่อเกษตรกร ผู้ส่งออกยางพารา ในด้านของการลดความเสี่ยงด้านราคายางพาราในอนาคตเพื่อที่จะตัดสินใจในการประกอบการที่ถูกต้อง
เกษตรกรจะได้ประโยชน์จากตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าในด้านที่ว่า ผู้ส่งออกลดภาระความเสี่ยงส่งผลให้ต้นทุนการตลาดต่ำลงเป็นการช่วยยกระดับระดับราคาแก่เกษตรกรได้ ผู้ส่งออกจะได้ประโยชน์จากตลาดล่วงหน้า
คือการลดความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของราคา
ราคาตลาดล่วงหน้าของยางแผ่นรมควัน
|