สถิติ
เปิดเมื่อ22/10/2013
อัพเดท30/10/2013
ผู้เข้าชม227404
แสดงหน้า319209
สินค้า
ปฎิทิน
May 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
   
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 




อุตสาหกรรมเหล็ก

เมื่อ 29/10/2013 20:23

 อุตสาหกรรมเหล็ก



เหล็ก คืออะไร ?

    เหล็กกล้า คือโลหะผสมของเหล็ก และคาร์บอน (เปอร์เซ็นต์คาร์บอนน้อยกว่า 2 %) และ มีธาตุ
แมงการ์นีส1%มีปริมาณสารเจืออื่นๆอีกเล็กน้อย เช่น ซิลิกอน ฟอสฟอรัส ซัลเฟอร์ และ ออกซิเจน
เหล็กกล้านับว่าเป็นวัสดุที่มีความสำคัญต่อโลกมากที่ี่สุดเนื่องจากเป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง
ทุกประเภทรวมถึงเป็นส่วนประกอบของเครื่องใช้และยานพาหนะ อีกด้วย เรียกได้ว่าสามารถนำ
ไปใช้งานได้ทุกด้านเลยทีเดียว

 ใครคือผู้คิดค้นผลิตเหล็กเป็นคนแรก ?

ใครเป็นผู้ประดิษฐ์เหล็กกล้าขึ้นมาเป็นคนแรกนั้น ไม่สามารถตอบได้ เนื่องจากเหล็กกล้านั้น
ได้ถูกผลิตขึ้นมาใช้ในรูปแบบต่างๆ มาตั้งแต่ 200 ปีก่อนคริสตกาล แต่หาก จะกล่าวถึงผู้คิดค้น
เทคนิคในการผลิตเหล็กกล้า เพื่อให้สามารถผลิตได้เป็นจำนวนมากๆจะต้องกล่าวถึง นักคิดค้น
ชาวอังกฤษ ชื่อ เฮนรี เบสซีเมอร์ (Henry Bessemer) ที่คิดค้นวิธีการผลิตเหล็กแบบ mass
production ในช่วงกลางปีคศ 1850 โดยใช้อากาศเป่าผ่านน้ำเหล็กดิบ เพื่อออกซิไดซ์น้ำ
เหล็กและแยกสารเจือที่ไม่บริสุทธิ์ออกจากน้ำเหล็ก 

เหล็กผลิตที่ไหน ?

เหล็กกล้ามีการผลิตกระจายอยู่ทั่วโลกมากกว่า 60 ประเทศ สามารถทำการผลิต
ได้ทุกทวีปยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา

ในแต่ละปีมีการผลิตเหล็กทั่วโลกเป็นปริมาณเท่าใด ?

ในปี 2010 ปริมาณการผลิตเหล็กดิบของโลกอยู่ที่ 1,414 ล้าน เมตริกตัน ซึ่งเพิ่มขึ้น
จากในปี 2009 ประมาณ 15 % และในแต่ละปีก็มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

ประเทศใดที่มีการผลิตเหล็กมากที่สุด ?

ประเทศที่มีการผลิตเหล็กมากที่สุด 9 อันดับในปี 2010 ได้แก่
1. จีน ผลิตได้ 627 ล้านเมตริกตัน
2. ญี่ปุ่น ผลิตได้ 110 ล้านเมตริกตัน
3. สหรัฐอเมริกา ผลิตได้ 81 ล้านเมตริกตัน
4. CIS ผลิตได้ 109 ล้านเมตริกตัน
5. อินเดีย ผลิตได้ 67 ล้านเมตริกตัน
6. เกาหลีใต้ ผลิตได้ 58 ล้านเมตริกตัน
7. เยอรมัน ผลิตได้ 44 ล้านเมตริกตัน
8. บราซิล ผลิตได้ 33 ล้านเมตริกตัน
9 . อิตาลี ผลิตได้ 26 ล้านเมตริกตัน

บริษัทใดที่มีผลิตเหล็กมากที่สุด ?

บริษัทที่มีการผลิตเหล็กมากที่สุด 3 อันดับในปี 2007 ได้แก่
1. ArcelorMittal Steel ผลิตได้ 116.4 ล้านเมตริกตัน
2. Nippon Steel ผลิตได้ 35.7 ล้านเมตริกตัน
3. JFE ผลิตได้ 34 ล้านเมตริกตัน

   


กระบวนการผลิตเหล็กมีขั้นตอนอย่างไร ?

เหล็กส่วนมากสามารถผลิตได้จาก2 วิธี ได้แก่
1.วิธีการแบบ Integrate (Blast furnace และ Basic oxygen furnace) :
ใช้วัตถุดิบในการผลิตหลายอย่างได้แก่ แร่เหล็ก ถ่านหิน และ
ถ่านโค้กรวมทั้งเศษเหล็กในการผลิตเหล็ก

2.Electric arc furnace : ใช้เศษเหล็กเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต
วิธีการนี้ทำได้ง่ายกว่าวิธีการแรก เนื่องจากใช้เพียงแค่เศษเหล็ก และสารเติมอื่นๆ
เท่านั้นก็สามารถผลิตเหล็กได้
       นอกเหนือจากสองวิธีดังกล่าวข้างต้น เหล็กยังสามารถผลิตจาก
กระบวนการอื่น ได้อีก เช่น กระบวนการ Open hearth แต่ก็เป็นกระบวนการ
ที่ไม่ค่อยเป็นที่นิยม ซึ่งจากข้อมูลการผลิตเหล็กในปี 2005 65.4%
ของเหล็กที่ถูกผลิตออกมาเกิดจากกระบวนการผลิตแบบผสม 31.7%
เป็นการผลิตแบบ EA ส่วนกระบวนการอื่นๆ มีเพียงแค่ 2.9% เท่านั้น
 
 

เหล็กเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ?

        เหล็กนับว่าเป็นวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากว่ามันสามารถนำกลับมาใช้ใหม่
ได้อย่างไม่สิ้นสุด อีกทั้งในแง่ของกระบวนการผลิตเมื่อเทียบกับการผลิตวัสดุอื่นแล้วมีการใช้พลังงาน
ในการผลิตน้อยกว่า
        นอกจากนี้ตลอดช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมากลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตเหล็กก็ได้มีความตื่นตัว
ในเรื่องของความพยายามที่จะลดปริมาณมลพิษที่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งจากความพยายาม
ดังกล่าว ทำให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงถึง 50% เมื่อเทียบกับในช่วงปี 1960
และปริมาณฝุ่นก็ลดลงอีกด้วย


เหล็กสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้หรือไม่ ?


     สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้และทำได้ง่ายอีกด้วยเนื่องจากเหล็กมีสมบัติเฉพาะ คือ
ความเป็นแม่เหล็กทำให้สามารถแยกออกจากขยะประเภทอื่นได้ง่าย และ สามารถนำกลับมา
หลอมใช้ใหม่ โดยวิธีที่เรียกว่า 
Electric Arc Furnace (EAF) ซึ่งไม่ส่งผลต่อคุณสมบัติของ
เหล็กไม่ว่าจะนำกลับมาหลอมซ้ำกี่ครั้งถือได้ว่าเป็นวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้มาก ที่สุดในโลกเลยทีเดียว
 

เหล็กที่มีอยู่ปัจจุบันสามารถแบ่งเป็นกี่ประเภท ?

     เหล็กในปัจจุบันนี้มีหลากหลายเกรด กว่า 3500 เกรด ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งคุณสมบัติทาง
ด้านกายภาพ เคมี และการทนต่อสภาพแวดล้อม การพัฒนาคุณสมบัติของเหล็กก็มีอยู่เรื่อยๆ
ปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะการใช้งานในปัจจุบัน

ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (Finished product) ของเหล็กได้แก่อะไรบ้าง ?

ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (Finished product) จะถูกผลิตมาจากขั้นตอนการผลิต
เหล็กขั้นกลางโดยใช้ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป (Semi-finished product) 
ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้
- Cold-finished bars and flats (Bright bar)
- Cold-finished sections including forged and cold-formed sections
- Cold-rolled narrow strip
- Cold-rolled plate and sheet in coil and lengths
- Deformed reinforcing bars
- Drawn wire
- Forged bars
- Forgings (Unworked)
- Heavy sections, piling and welded structure sections
- Hot-rolled light sections
- Hot-rolled narrow strip including universal plates
- Hot-rolled rod in a coil (including reinforcement bar in a coil)
- Hot-rolled wide strip, plate and sheet
- Points, switches, crossing, tyres, wheels and axles
- Rails and rolled accessories
- Silicon electrical sheet and strip
- Steel castings (Unworked)
- Steel tubes (seamless and weld, and steel tube fittings)
- Tinmill products
- Zinc- and other-coated sheet and strip

 
       
รูปขั้นตอนของอุตสาหกรรมเหล็ก

ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเหล็กแผ่นได้แก่อะไรบ้าง 

โดยปกติแล้วเหล็กแผ่นจะถูกผลิตโดยการรีดลดขนาดเพื่อให้ได้ความหนาสุดท้ายตามต้องการ
เหล็กแผ่นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามความหนาของเหล็

1) Plate products จะมีความหนาประมาณ 10 – 200 มิลลิเมตร โดยอาจนำไปใช้ในการสร้างเรือ,
ในงานก่อสร้าง, ในงานเชื่อมท่อที่มีขนาดใหญ่และการประยุกต์ใช้ใน boiler
2) Strip products สามารถผลิตได้จากการรีดร้อนหรือรีดเย็นก็ได้ ซึ่งความหนาจะอยู่ในช่วง
1 – 10 มิลลิเมตร 
สำหรับการใช้งานนั้นจะนำไปใช้สำหรับงานชิ้นส่วนยานยนต์ ตัวถังเครื่องซักผ้า
ชิ้นส่วนอุปกรณ์อาบน้ำ กระป๋องเหล็ก 
อุปกรณ์ตกแต่งภายในสำนักงานต่างๆ
กลุ่มผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาว ได้แก่ เหล็กเส้นกลม เหล็กข้ออ้อย เหล็กลวด
เหล็กแท่งหรือเหล็กหน้าตัดกลวง 
ปกติแล้วเหล็กเส้นมักจะถูกนำไปใช้เป็นตัวเสริมแรง
ในคอนกรีตเฟืองจักร หรือ ในเครื่องมืออื่นๆ 
ส่วนเหล็กแท่งและเหล็กหน้าตัดกลวง
มักจะถูกนำไปใช้ในงานโครงสร้าง งานก่อสร้างอาคาร เป็นต้น
 

Mini-mill คืออะไร ?

      Mini-mill คือกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ของเศษเหล็ก โดยการเติมเศษเหล็กเข้าไปภายใน
เตา EAF (Electric Arc Furnace) แล้วหล่อขึ้นรูปเพื่อให้ได้แท่งเหล็กที่สามารถนำไปใช้ในงานอื่นๆ
ได้ต่อไป



    รูปกรรมวิธีการผลิตแบบ  (Electric Arc Furnace) 

     
ภาพรวมอุตสาหกรรม

      ภาพรวมอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็กขั้นต้น
อุตสาหกรรมเหล็กขั้นกลาง อุตสาหกรรมเหล็กขั้นปลายและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง 
ดังรูปโดยมีรายละเอียดดังนี้

 
                                        รูปกระบวนการผลิตเหล็กครบวงจร
 

อุตสาหกรรมเหล็กขั้นต้น

    
การถลุงสินแร่เหล็กให้เป็นโลหะเหล็ก (Iron)เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเหล็กกล้า
กระบวนการถลุง
เหล็กที่ใช้กันมากที่สุด ในปัจจุบันคือ เตาถลุงเหล็กแบบพ่นลม (Blast furnace) 
ได้เหล็กออกมาในรูปของ 
น้ำโลหะหลอมเหลว (Molten metal)
     
ในกรณีที่ต้องการนำไปขายเป็นวัตถุดิบจะหล่อเป็นก้อนเล็กๆ เรียกว่าเหล็กพิก (Pig iron)
กระบวนการถลุงของเตาถลุงเหล็ก
แบบพ่นลมจำเป็นต้องใช้ถ่านโค้ก (Coke)ที่ได้จากการเผาถ่าน
หิน(Coal) ซึ่งกระบวนการนี้ต้องใช้ถ่านหินที่มีคุณภาพดี
มีราคาสูงและการผลิตถ่านโค้กยังก่อให้เกิด
มลภาวะทางอากาศค่อนข้างสูง จึงมีผู้คิดกระบวนการถลุงเหล็กแบบใหม่
ที่สามารถใช้ถ่านหินธรรมดา
แทนที่ถ่านโค้ก
เรียกว่า โคเร็กซ์ (Corex) แต่เนื่องจากยังเป็นเทคโนโลยีการถลุงเหล็กที่ยังใหม่อยู่
จึงมีผู้ใช้น้อยมาก 
     นอกจากการถลุงเหล็กออกมาในรูปของเหลวแล้วยังมีวิธีการถลุงอีกวิธีที่เรารู้จักกันดีคือ
การผลิตเหล็กพรุน 
(Sponge iron) ลักษณะเหล็กที่ถลุงได้อยู่ในรูปของแข็งมีรูพรุน หรือเรียกว่า
DRI ซึ่งย่อมาจาก Direct reduction Iron

 

อุตสาหกรรมเหล็กขั้นกลาง

      เป็นการนำเศษเหล็กมาหลอมในเตาไฟฟ้า (Electrical arc furnace, EAF) นำเอาเหล็กจาก
Blast furnace คือ เหล็กพรุนหรือเหล็กพิกผสมกับเศษ
เหล็กเข้าเตา หลอมละลายเป็นน้ำเหล็ก และ
ทำการปรุงคุณภาพน้ำเหล็กให้ได้คุณภาพที่ต้องการแล้วผ่านการหล่อเหล็กให้เป็นแท่งที่มีลักษณะ
แตกแต่งกัน
ตามการนำไปใช้งาน ได้แก่ เหล็กแท่งเล็ก (Billet) เหล็กแท่งแบน (Slab)เหล็กแท่งใหญ่
(Bloom, Beam, Blanks)


                                   
รูปการผลิตเหล็กกล้าในอุตสาหกรรมเหล็กขั้นกลาง

 

อุตสาหกรรมเหล็กขั้นปลาย

 
      เริ่มจากการนำเหล็กแท่งเล็ก (Billet) เหล็กแท่งแบน (Slab) หรือเหล็กแท่งใหญ่ (Bloom, Beam, Blanks)
มาขึ้นรูปร้อน (Hot forming) โดยวิธีการต่างๆ เช่น การรีดร้อน (Hot rolling) การตีขึ้นรูปร้อน (Hot forging)
ได้เป็นผลิตภัณฑ์เหล็กสำเร็จรูปเช่น เหล็กแผ่นรีดร้อน (Hot rolled plate) เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน
(Hot rolled coil) เหล็กเส้น (Steel bar) เหล็กลวด (Wire rod) เป็นต้น เหล็กที่ได้จากการขึ้นรูปร้อนอาจนำไป
ลดขนาดลงหรือขึ้นรูปเย็น (Cold forming) เช่น การรีดเย็น (Cold rolling) การดึงลวด (Cold drawing)
กระบวนการขึ้นรูปเย็น (Cold forming) เป็นต้น ได้เป็นผลิตภัณฑ์ เหล็กขึ้นรูปเย็น เช่นเหล็กแผ่นรีดเย็น
(Cold rolled sheet) เหล็กแผ่นรีดเย็นชนิดม้วน (Cold rolled coil) ลวดเหล็ก (Steel wire) เป็นต้น

       กระบวนการต่อ จากการขึ้นรูปเย็น คือ การเคลือบหรือการชุบผิวเหล็กด้วยโลหะอื่น ๆ เช่น ดีบุก สังกะสี
โลหะผสมสังกะสี-อลูมิเนียม เป็นต้น ซึ่งวิธีการชุบอาจเป็นการชุบใน น้ำโลหะหลอมละลาย (Hot dip) หรือการชุบ
ด้วยไฟฟ้า (Electroplating) ก็ได้ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์เหล็กเคลือบ ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก (Tin plate) 
เหล็กแผ่นชุบสังกะสี  (Galvanized steel)
 

 
 
             
                        รูปการผลิตเหล็กกล้าในอุตสาหกรรมเหล็กขั้นปลาย
 


อุตสาหกรรมต่อเนื่อง

    เป็นการนำเหล็กที่ผ่านการแปรรูปในกระบวนการต่าง ๆ รวมทั้งการเคลือบผิวหรือ
ตกแต่งคุณสมบัติแล้ว นำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ เป็นอุตสาหกรรมก่อสร้างยานยนต์
และชิ้นส่วน บรรจุภัณฑ์ ต่อเรือ เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น


กรรมวิธีผลิต

      การหล่อหลอมเหล็กในประเทศไทยปัจจุบันนิยมใช้เตาหลอมไฟฟ้า (Electric Arc Furnace, EAF)
ในการหลอมเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเตาหลอมชนิดนี้มีเทคโนโลยีทีทันสมัย มีประสิทธิภาพ
สามารถให้อุณหภูมิที่สูงพอเหมาะ การควบคุมอุณหภูมิทำได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วและที่สำคัญ
มลพิษที่เกิดขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับเตาหลอมประเภทอื่นแล้วถือว่ามีปริมาณไม่สูง
โดยมีกรรมวิธีการผลิตดังรูป

 
                    รูปกระบวนการผลิตเหล็ก
 

การขึ้นรูปโลหะ

   กรรมวิธีการขึ้นรูปโลหะ (Fabrication of Metals) ตามความหมายของคำว่า 'Fabrication' นั้น
จะมีความหมาย 
โดยครอบคลุมไปถึงกรรมวิธีการผลิตโลหะสำเร็จรูปทุกชนิดซึ่งเป็นความหมาย
โดยกว้างไม่ว่าจะเป็นการสร้างขึ้นรูป
หรือผลิตโลหะที่มีรูปร่างด้วยกรรมวิธีใดๆก็ตาม เช่นอาจจะ
ทำการขึ้นรูปโลหะที่อุณหภูมิสูงหรืออุณหภูมิต่ำ
ก็ตามจะรวมเรียกว่า 
'Fabrication' 
    
สมมติว่าเราต้องการผลิตเฟืองเกียร์หนึ่งชิ้น เราจะต้องเริ่มตั้งแต่การหลอมโลหะและการหล่อ
ให้เป็นรูปร่าง
ชิ้นงานหยาบๆ 
ที่เราต้องการแล้วนำมาผ่านกระบวนการ ทำ  'Machine'  เพื่อให้ได้
ขนาดตามที่ต้องการ
และนำมากัดเป็นฟันเฟืองเสร็จแล้ว เราสามารถนำไปผ่านกระบวนการชุบ
แข็ง
เพื่อให้ได้ความแข็งสูง
สามารถใช้งานได้ทนทาน ซึ่งกรรมวิธีดังกล่าวทั้งหมดเราจะ
เรียกว่า
'Fabrication' โดยจะมีความหมายและ
ขอบเขตกว้างขวางมาก


กรรมวิธีที่สำคัญของการขึ้นรูปโลหะ

     กรรมวิธีสำคัญของการขึ้นรูปโลหะ แยกออกเป็น 4 ประเภท คือ
1) การหล่อ (Casting)
2) การแปรรูปหรือขึ้นรูปในสภาพร้อน (Hot Working)
3) การแปรรูปหรือขึ้นรูปในสภาพเย็น (Cold Working)
4) กรรมวิธีโลหะผง (Powder Metallurgy)

       โลหะที่เราจะนำมาแปรรูปตามกรรมวิธีต่าง ๆ ดังกล่าวมานั้น ส่วนใหญ่จะได้มาจากการ
ถลุง 
จากเตาถลุง ซึ่งจะผลิตมาในรูปของ Ingot เป็นแท่งขนาดต่าง ๆเช่น Steel Ingot, Pig Iron 
และ Aluminium Ingot 
       
จากนั้นจึงจะนำมาผ่านกรรมวิธีผลิตเป็นโลหะสำเร็จรูปต่อไป การขึ้นรูปแบบร้อน 
(Hot Working) หมายถึง กระบวนการการที่ทำให้โลหะ หรือวัสดุได้รับแรงในทางกล 
(Mechanical Working) ที่อุณหภูมิสูงกว่า อุณหภูมิในการเกิดผลึกใหม่ (Recrystallization)
แต่จะต่ำหรือน้อยกว่าอุณหภูมิในการทำให้เกิดการหลอม (Melting Point) ของโลหะ
หรือวัสดุนั้น ๆ ดังตัวอย่างเช่น การตีเหล็ก (Forging) การรีดแบบร้อน (Hot Rolling)  เป็นต้น
 
 


การขึ้นรูปแบบร้อน ประกอบไปด้วย

1. การตีขึ้นรูป (Forging)
2. การรีดร้อน (Hot Rolling)
3. การดึงและกดขึ้นรูป (Drawing & Cupping)
4. การเชื่อมต่อท่อ (Pipe Welding)
5. การแทงขึ้นรูป (Piercing)
6. การเคลื่อนไหลขึ้นรูป (Extruding)
7. การหมุนขึ้นรูป (Spinning)
 
ข้อดีของการขึ้นรูปแบบร้อน

 
1. สารมลทิน (Impurity) จะแตกตัวกระจัดกระจาย
2. กำจัดรูพรุน (Porosity) ได้ดียิ่งขึ้น
3. ปรับปรุงคุณสมบัติทางกล อาทิเช่น
Strength’ Formability’ Rigidity’ Toughness และ Durability
4. เกรนที่ยาว(Elongated Grain),เกรนที่หยาบ(Course Grain)
จะมีความละเอียดของเกรนมากขึ้น
ข้อเสียของการขึ้นรูปแบบร้อน
1. เกิดออกไซด์ที่บริเวณผิวชิ้นงาน
2. เกิดสะเก็ดกับผิวชิ้นงานจนทำให้ได้ผิวออกมาไม่สวย
3. ไม่สามารถควบคุมขนาดของชิ้นงานได้
สาเหตุอันเนื่องจากการขยายตัวและการหดตัวของโลหะเมื่อได้รับความร้อน
 
 
 
 
              รูปกระบวนการขึ้นรูปเหล็กแบบร้อน

การขึ้นรูปแบบเย็น (Cold Working) 
       หมายถึง กระบวนการรีดขึ้นรูปเพื่อให้วัสดุหรือโลหะเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง
ชนิดถาวรในที่ที่อุณหภูมิต่ำ ๆ ทั้งนี้โดยไม่ทำให้เกิดผลึกใหม่ขึ้น


การขึ้นรูปแบบเย็น จะประกอบไปด้วย
 
1. การดัดงอ (Bending)
2. การรีดเย็น (Cold Rolling)
3. การอัดรีด (Extruding)
4. การบิดงอ (Squeezing)
5. การรีดขึ้นรูป (Shear Spinning)
6. การตัดยึด (Stretching)
7. การงอตรง (Straight Bending)
8. การตีขึ้นรูป (Shot Peening)
9. การขึ้นรูปพิมพ์ลึก (Deep Drawing)
10. การกระแทกขึ้นรูป (Forging)
11. การแทงขึ้นรูป (Hobbing)

ข้อดีของการขึ้นรูปแบบเย็น
 
1. ใช้อุณหภูมิน้อยในการขึ้นรูป (ประมาณ 20o - 25o C )
2. มีความสวยที่ผิว เรียบ สะอาด และเงางามของชิ้นงาน
3. ชิ้นงานที่ได้มีขนาดที่เที่ยงตรง และแน่นอนดีมาก
4. ได้ความแข็งแรง และแข็งมากขึ้นกว่าเดิม
 
ข้อเสียของขบวนการขึ้นรูปแบบเย็น

 
1. เกิดความเค้น (Stress) มาก
2. เกิดความเครียด (Strain) มาก
3. เกรนของโลหะเกิดการแตกหักได้ง่าย
4. ต้องลงทุนมากในการติดตั้งเครื่องจักรที่มีกำลังมาก ๆ
และขนาดใหญ่ๆ
******************************************
ขอขอบคุณ:สำหรับข้อมูลและเกร็ดความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเหล็กถานการณ์อุตสาหกรรมเหล็ก
http://www.thaimetaltech.com 
 

มาตรฐานเหล็กอุตสาหกรรม

     เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตเหล็กได้ทำการผลิตเหล็กชนิดต่าง ๆ ออกสู่ท้องตลาดเป็นจำนวนมาก
แต่ละบริษัทพยายามที่จะผลิตเหล็กให้มีคุณภาพต่างๆกันตามประเภทของการใช้งาน
ดังนั้นจึงเป็นความยากลำบาทของผู้ใช้ที่จะเลือกใช้เหล็กให้ตรงกับความต้องการของตน
จึงได้มีการกำหนดชนิดและปริมาณส่วนผสมไปในเนื้อเหล็กโดยใช้สัญลักษณ์ ของธาตุและ
ตัวเลขเป็นตัวชี้บอกจำนวนปริมาณของส่วนผสมที่มีอยู่ จึงได้เกิดเป็น' มาตรฐานเหล็กอุตสาหกรรม '
ขึ้น มาตรฐานเหล็กอุตสาหกรรมได้กำเนิดมาหลายมาตรฐานเนื่องจากประเทศบริวารในเครือของตนเอง
หรือประเทศที่มีการจัดการอุตสาหกรรมแบบเดียวกันยอมรับและนำไปใช้ซึ่งปรากฎว่าในปัจจุบันมีมาตรฐาน
เหล็กอุตสาหกรรมที่นิยมนำมาใช้งานกัน มี 3 มาตรฐาน คือ
  1. ระบบอเมริกัน AISI ( American Iron and Steel Institute )
    การกำหนดมาตรฐานนี้ ตัวเลขดัชนี จะมีจำนวนหลัก และตัวชี้บอกส่วนประสมจะเหมือนกับระบบ
SAE ต่างกันตรงที่ ระบบ AISI จะมีตัวอักษรนำหน้าตัวเลข ซึ่งตัวอักษรนี้จะบอกถึงกรรมวิธีการผลิต
เหล็กว่าได้ผลิตมาจากเตาชนิดใดตัวอักษรที่บอกกรรมวิธีการผลิตเหล็กจะมีดังนี้
A คือ เหล็กประสมที่ผลิตจากเตาเบสเซมเมอร์ ( Bessemer ) ชนิดที่เป็นด่าง
B คือ เหล็กประสมที่ผลิตจากเตาเบสเซมเมอร์ ( Bessemer ) ชนิดที่เป็นกรด
C คือ เหล็กที่ผลิตจากเตาโอเพ็นฮารท์ ( Open Hearth ) ชนิดที่เป็นด่าง
D คือ เหล็กที่ผลิตจากเตาโอเพ็นฮารท์ ( Open Hearth ) ชนิดที่เป็นกรด
E คือ เหล็กที่ผลิตจากเตาไฟฟ้า


 
 
 
  1. ระบบเยอรมัน DIN (Deutsch Institute Norms)
    การจำแนกประเภทของเหล็กตามมาตรฐานเยอรมันจะแบ่งเหล็กออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
    2.1 เหล็กกล้าคาร์บอน(หรือเหล็กไม่ประสม)
    2.2 เหล็กกล้าผสมต่ำ
    2.3 เหล็กกล้าผสมสูง
    2.4 เหล็กหล่อ
            
เหล็กที่นำไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องผ่านกรรมวิธีปรับปรุงคุณสมบัติโดยใช้ความร้อน
(Heat Treatment) เหล็กพวกนี้จะบอกย่อคำหน้าว่า St.และจะมีตัวเลขตามหลังซึ่งจะบอก
ถึงความสามารถที่จะทนแรงดึงสูงสุดของเหล็กชนิดนั้น มีหน่วยเป็น ก.ก/มม.2


หมายเหตุ :การกำหนดมาตรฐานทั้งสองนี้ เหล็กที่มีความเค้นแรงดึงสูงสุดประมาณ 37 ก.ก/มม.2
จะสามารถใช้สัญลักษณ์แทนเหล็กชนิดนี้ได้ 2 ลักษณะ คือ เขียนเป็น St. หรือ C20 
การกำหนด
มาตรฐานเหล่านี้จะเห็นมากในแบบสั่งงานชิ้นส่วนบางชนิดต้องนำไปชุบแข็งก่อนใช้งาน ก็จะกำหนด
วัสดุเป็น C นำหน้า ส่วนชิ้นงานที่ไม่ต้องนำไปชุบแข็ง ซึ่งนำไปใช้งานได้เลยจะกำหนดวัสดุเป็นตัว St.
นำหน้าทั้ง ๆ ที่วัสดุงานทั้งสองชิ้นนี้ใช้วัสดุอย่างเดียวกันคือเหล็กกล้าผสมต่ำการกำหนดมาตรฐาน
เหล็กประเภทนี้จะบอกจำนวนคาร์บอนไว้ข้างหน้าเสมอ แต่ไม่นิยมเขียนตัว C กำกับไว้ ตัวถัดมาจะเป็น
ชนิดของโลหะที่เข้าไปประสม ซึ่งอาจมีชนิดเดียวหรือหลายชนิดก็ได้


ข้อสังเกตุ :เหล็กกล้าประสมต่ำตัวเลขที่บอกปริมาณของโลหะประสมจะไม่ใช่จำนวนเปอร์เซ็นต์
ที่แท้จริงของโลหะประสมนั้นการที่จะทราบจำนวนเปอร์เซ็นต์ที่แท้จริงจะต้องนำแฟกเตอร์ (Factor)
ของโลหะประสมแต่ละชนิดไปหารซึ่งค่าแฟกเตอร์ (Factor) ของโลหะประสมต่าง ๆ มีดังนี้
  • หารด้วย 4 ได้แก่ Co, Cr, Mn, Ni, Si, W
  • หารด้วย 10 ได้แก่ Al, Cu, Mo, Pb, Ti, V
  • หารด้วย 100 ได้แก่ C, N, P, S
  • ไม่ต้องหาร ได้แก่ Zn, Sn, Mg, Fe
การใช้สัญลักษณ์ดังตัวอย่างที่แล้ว เป็นการบอกส่วนผสมในทางเคมี
แต่ในบางครั้งจะมีการเขียนสัญลักษณ์บอกกรรมวิธีการผลิตไว้ข้างหน้าอีกด้วย เช่น
  • B = ผลิตจากเตาเบสเซมเมอร์
  • E = ผลิตจากเตาไฟฟ้าทั่วไป
  • F = ผลิตจากเตาน้ำมัน
  • I = ผลิตจากเตาไฟฟ้าชนิดเตาเหนี่ยวนำ (Induction Furnace)
  • LE = ผลิตจากเตาไฟฟ้าชนิดอาร์ค (Electric Arc Furnace)
  • M = ผลิตจากเตาซีเมนต์มาร์ติน หรือ เตาพุดเดิล
  • T = ผลิตจากเตาโทมัส
  • TI = ผลิตโดยกรรมวิธี (Crucible Cast Steel)
  • W = เผาด้วยอากาศบริสุทธิ์
  • U = เหล็กที่ไม่ได้ผ่านการกำจัดออกซิเจน (Unkilled Steel)
  • R = เหล็กที่ผ่านการกำจัดออกซิเจน (Killed Steel)
  • RR = เหล็กที่ผ่านการกำจัดออกซิเจน 2 ครั้ง
นอกจากนี้ยังมี สัญลักษณ์แสดงคุณสมบัติพิเศษของเหล็กนั้นอีกด้วย เช่น
A = ทนต่อการกัดกร่อน
Q = ตีขึ้นรูปง่าย
X = ประสมสูง
Z = รีดได้ง่าย

เหล็กกล้าผสมสูง (High Alloy Steel) เหล็กกล้าประสมสูง หมายถึงเหล็กกล้า
ที่มีวัสดุผสมอยู่ในเนื้อเหล็กเกินกว่า  8 % การเขียนสัญลักษณ์ของเหล็กประเภทนี้เขียนนำ
หน้าด้วยต้ว X ก่อน แล้วตามด้วยจำนวนส่วนผสมของคาร์บอนจากนั้นด้วยชนิดของโลหะประสม
ซึ่งจะมีชนิดเดียวหรือชนิดก็ได้แล้วจึงตามด้วยตัวเลขแสดงปริมาณของโลหะประสม
หมายเหตุ : สำหรับตัวเลขแสดงปริมาณของโลหะประสม ไม่ต้องหารด้วยแฟกเตอร์ใด ๆ
ทั้งสิ้น (แตกต่างจากโลหะประสมต่ำ) แต่คาร์บอนยังต้องหารด้วย 100 เสมอ

 

3.  ระบบญี่ปุ่น JIS (Japaness Industrial Standards)   

การจำแนกประเภทของเหล็กตามมาตรฐานญี่ปุ่นซึ่งจัดวางระบบโดยสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น 
(Japaness Industrial Standards, JIS) จะแบ่งเหล็กตามลักษณะงาน ที่ใช้ ตัวอักษรชุดแรก จะมีคำว่า JIS
หมายถึง Japaness Industrial Standards ตัวอักษรสัญลักษณ์ตัวถัดมา จะมีได้หลายตัวแต่ละตัว หมายถึง

การจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต่างๆ เช่น



ถัดจากตัวอักษรจะเป็นตัวเลขซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 ตัว มีความหมายดังนี้  ตัวเลขตัวแรก
หมายถึง กลุ่มประเภทของเหล็ก เช่น
0 เรื่องทั่ว ๆ ไป การทดสอบและกฎต่าง ๆ
1 วิธีวิเคราะห์
2 วัตถุดิบ เหล็บดิบ ธาตุประสม
3 เหล็กคาร์บอน
4 เหล็กกล้าประสม
ตัวเลขตัวที่ 2 จะเป็นตัวแยกประเภทของวัสดุในกลุ่มนั้น เช่น ถ้าเป็นในกรณีเหล็ก จะมีดังนี้
1 เหล็กกล้าประสมนิเกิลและโครเมียม
2 เหล็กกล้าประสมอลูมิเนียมแลโครเมียม
3 เหล็กไร้สนิม
4 เหล็กเครื่องมือ
8 เหล็กสปริง
9 เหล็กกล้าทนการกัดกร่อนและความร้อน
ตัวเลขที่เหลือ 2 หลักสุดท้ายจะเป็นตัวแยกชนิดของส่วนผสมที่มีอยู่ในวัสดุนั้น เช่น ถ้าเป็นเหล็ก
ตัวเลข 2 หลักสุดท้ายจะเป็นตัวแยกชนิดเหล็กตามส่วนผสมธาตุที่มีอยู่ในเหล็กชนิดนั้น ๆ เช่น
01 เหล็กเครื่องมือ คาร์บอน
03 เหล็กไฮสปีด
04 เหล็กเครื่องมือประสม

 

4.  มาตรฐาน ASTM



มาตรฐาน สามารถแบ่งตามเนื้อหา ออกได้เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

    1. Classification เป็นมาตรฐานของระบบการจัดการและการจัดแบ่งวัสดุผลิตภัณฑ์
     การบริการระบบ หรือการใช้งานออกเป็นกลุ่มๆ โดยอาศัยคุณลักษณะที่เหมือนกัน
     เช่นแหล่งกำเนิด ส่วนประกอบ คุณสมบัติหรือประโยชน์ใช้สอย
2. Specification เป็นข้อกำหนดที่ระบุแน่นอนถึงคุณลักษณะและสมบัติต่างๆ ที่ต้องการของวัสดุ
    ผลิตภัณฑ์ ระบบหรือการใช้งาน ข้อกำหนดเหล่านี้ มักจะแสดงค่าเป็นตัวเลขและมีข้อจำกัด
    กำหนดไว้ พร้อมทั้งวิธีหาค่าเหล่านั้นด้วย
3. Terminology เป็นเอกสารมาตรฐาน ที่กำหนดคำนิยาม คุณลักษณะ คำอธิบายของศัพท์ต่างๆ
    เครื่องหมาย ตัวย่อ คำย่อที่ใช้ในมาตรฐานต่างๆ
4. Test method เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับกรรมวิธี ที่กำหนดให้ใช้ในการตรวจสอบ พิสูจน์วัด และปริมาณคุณภาพ
    คุณลักษณะ คุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างของวัสดุ ระบบหรือ การใช้งาน ซึ่งมีผลการทดสอบ
    ที่สามารถนำไปใช้ ในการประเมินค่าตามข้อกำหนด
5. Guide เป็นคำแนะนำ หรือทางเลือก ให้ผู้ใช้เลือกใช้เทคนิคต่างๆ ที่มีอยู่ รวมทั้งสิ่ง ที่จะได้จากการประเมิน
    และการมาตรฐานที่ใช้นั้นๆ ด้วย
6. Practice เป็นวิธีการปฏิบัติเฉพาะ สำหรับงานเฉพาะอย่าง ได้แก่ การเขียนรายงาน การสุ่มตัวอย่าง
    ความแม่นยำ ความละเอียด การเลือก การเตรียม การประยุกต์ การตรวจสอบ ข้อควรระวังในการใช้
    การกำจัดทิ้ง การติดตั้ง การบำรุงรักษา ตลอดจนการใช้เครื่องมือทดสอบ

    นอกจากนี้ ASTM มีการจัดแบ่งมาตรฐานออกเป็นกลุ่มๆ เฉพาะเรื่อง โดยใช้ตัวอักษรเป็น
สัญลักษณ์แทนกลุ่มของเนื้อเรื่อง เรียงตามลำดับดังนี้
A : Ferrous Metals
B : Nonferrous Metals
C : Cementitious, Ceramic, Concrete, and Masonry Meterials
D : Miscellaneous Materials
E : Miscellaneous Subjects
F : Materials for Specific Applications
G : Corrosion, Deterioration, and Degradation of Materials
        เดิม ASTM ได้แบ่งประเภทมาตรฐาน ตามลักษณะการกำหนดมาตรฐาน ออกเป็น 3 ชนิดคือ
Standards เป็นมาตรฐานที่จัดทำขึ้น ตามมติเอกฉันท์ของสมาชิกโดยผ่านการรับรองตามขั้นตอน
และกฎของสมาคมฯ เรียบร้อยแล้ว
        เป็นเอกสารที่จัดพิมพ์ตามความต้องการ เร่งด่วน ​​​แต่ยังไม่ผ่านการรับรองของสมาคมฯ
        เพียงแต่ผ่านการพิจารณา ของคณะอนุกรรมการบริหาร
  • P. (Proposal)
        เป็นเอกสารมาตรฐานที่พิมพ์เพื่อเผยแพร่ แนะนำ ก่อนที่จะพิจารณาลงมติ ให้ใช้เป็นมาตรฐาน
        
แต่ในปี ค.ศ. 1995 สมาคม ASTM ได้กำหนดให้ใช้ PS. (Provisional Standards) ซึ่งเป็นเอกสาร
        ที่ถูกจัดพิมพ์ขึ้นมา ใช้แทน ES. และ P
  • มาตรฐานอุตสาหกรรมของประเทศต่างๆ 
1 สหรัฐอเมริกา AISI
2 ฝรั่งเศส AFNOR
3 อังกฤษ B.S.
4 เชโกสโลวะเกีย  CSN
5 เยอรมัน DIN
6 โซเวียต GOST
7 ญี่ปุ่น  JIS
8 โปแลนด์  PN
9 สวีเดน  SS
10 สเปน  UNE
11 อิตาลี  UNI
12 มาตรฐานสากล  UNS
 


สถานการณ์อุตสาหกรรมเหล็ก

  • การผลิต
        ปริมาณการผลิตเหล็ก และเหล็กกล้าที่สำคัญ ในปี 2554 มีประมาณ 7,031,505 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ
6.04 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการชะลอตัวลงของภาคการก่อสร้างประกอบกับปริมาณ
สต๊อกที่เหลือค้างจากการเร่งผลิตในปีก่อน นอกจากนี้ เป็นผลมาจากการนำเข้าเหล็ก ทั้งในกลุ่มของเหล็กเส้น
และเหล็กแผ่นจากประเทศจีนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเหล็กดังกล่าวจะเป็นเหล็กที่ผู้นำเข้า ใช้เทคนิคในการหลีกเลี่ยง
ภาษีนำเข้าโดยการเติมธาตุเคมีบางธาตุ เช่น ธาตุโบรอน เข้าไปในเนื้อเหล็กเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะทำให้คุณสมบัติ
ของเหล็กไม่ได้เปลี่ยนไปมากนักแต่พิกัดภาษีจะเปลี่ยนไป โดยผู้นำเข้าจะสำแดงพิกัดศุลกากรว่าเป็นเหล็กอัลลอยด์
ซึ่งมีภาษีเป็น 0 จึงทำให้ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า
         จากเหตุผลดังกล่าวส่งผลให้การผลิตเหล็กในประเทศปรับตัวลดลง สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลง
มากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ13.61 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ลดลงร้อยละ
11.06 และเหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 7.65
  • วิธีการจำหน่ายภายในประเทศ การจำหน่ายเหล็กเส้น

         ​อาจแบ่งเป็นสองลักษณะดังนี้

1) ผู้ผลิตขายผ่านตัวแทนจำหน่าย เช่น บริษัทเหล็กสยามจำกัด ได้ให้ บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด
เป็นผู้จำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว และตัวแทนจะขายให้แก่ผู้ขายส่งต่อไป
2) ผู้ผลิตจำหน่ายโดยตรงสำหรับโรงงานที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก ผู้ผลิตจะจำหน่ายให้แก่ผู้ขายส่ง

และผู้ขายปลีกและรวมไปถึงลูกค้ารายใหญ่ด้วยตนเอง

  • การใช้ในประเทศ

       การใช้เหล็กในประเทศในปี 2554 มีปริมาณ 14,646,812 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.53 เมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงแบนมีปริมาณการใช้เหล็กในประเทศ 9,885,315เมตริกตัน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เหล็กทรงยาวมีปริมาณการใช้เหล็กในประเทศ
4,761,497 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.06 เนื่องจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นของเหล็กทรงแบนที่ขยายตัวขึ้น
ร้อยละ 11.27 แต่ปริมาณการส่งออกกลับหดตัวลงร้อยละ 39.18

  • การนำเข้า- การส่งออก

        ปริมาณการนำเข้าเหล็กในปี 2554 มีปริมาณ 9,057,081 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ11.99
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงแบนมีปริมาณการนำเข้า 9,057,081 เมตริกตันเพิ่มขึ้น
ร้อยละ11.99 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลมาจาก ปริมาณการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นของ
เหล็กแผ่น 2 กลุ่ม คือ

(1) เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเหล็กกล้าเจือ ที่คาดว่าเป็นการนำเข้าเหล็กกล้าเจือโบรอนจากประเทศจีนโดยปริมาณ
การนำเข้าเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
(2) เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี-อะลูมิเนียม โดยปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน

     สาเหตุที่เหล็กแผ่น ใน 2 กลุ่มนี้มีปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นมาก มาจากสาเหตุ การมีการเร่งการนำเข้าเพื่อเตรียมความพร้อม
หากมีการประกาศใช้มาตรการทางการค้า เช่น มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ซึ่งปัจจุบันอยู่
ในระหว่างการพิจารณาของ
กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเหล็กทั้งสองประเภทจะใช้ในงานก่อสร้าง และถ้าในช่วง ปี 2556 
ธุรกิจก่อสร้างยังไม่ฟื้นตัวก็จะส่งผล
ให้ผู้ผลิตเหล็กภายในประเทศได้รับผลกระทบด้วยเนื่องจากยังคงมีสต๊อกของสินค้า
นำเข้าอยู่ สำหรับเหล็กทรงยาวมีปริมาณ
การนำเข้า 1,969,730 เมตริกตันเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน
      อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตว่ามีการนำ เข้าเหล็กประเภทเหล็กกล้าเจือ (Alloy Steel) เพิ่มขึ้นมากทั้งในส่วนของเหล็กเส้นและ
เหล็กลวด โดยเหล็กเส้นที่เป็นชนิด Alloy Steel มีการเพิ่มขึ้นร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเหล็กลวดที่เป็น

Alloy Steel เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้โครงสร้างการนำเข้าของเหล็กประเภทนี้ก็เปลี่ยน
ไปด้วย คือ ก่อนหน้านี้แหล่งนำเข้าที่สำคัญ จะเป็นประเทศญี่ปุ่นแต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นประเทศจีน อินเดียและบราซิล ที่เป็นประเทศ
ผู้นำเข้าที่สำคัญปริมาณการส่งออกเหล็ก ในปี 2554 มีปริมาณ 1,346,374 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 13.64 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน โดยเหล็กทรงแบนมีปริมาณการส่งออก 485,452 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 39.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 
เหล็กทรงยาวมีปริมาณการส่งออก 860,922 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
     
      เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกชะลอตัวโดยปัจจัยที่สำคัญมากจากการใช้มาตรการรัดเข็มขัดทางการเงินในประเทศ

โดยเฉพาะประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เช่น อิตาลีและเยอรมนี จากการคาดการณ์
ของ
นักเศรษฐศาสตร์ระดับโลกยังเชื่อว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรปน่าจะรอถึงปี 2556 ซึ่งอาจมีผลให้แต่ละประเทศ
มีนโยบาย
การเงินที่เข้มงวด ลดการใช้จ่ายลง นอกจากนี้ประเทศในทวีปเอเชีย เช่น ประเทศจีนก็มีเศรษฐกิจชะลอ
เนื่องจากที่ผ่านมา
เศรษฐกิจของจีนมีการเติบโตมากซึ่งการเติบโตที่รวดเร็วส่งผลให้จีนมีความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจที่
จะเกิดฟองสบู่ในธุรกิจ
อสังหาริมทรัพย์จึงทำให้รัฐบาลจีนใช้มาตรการในการควบคุมทางการเงินส่งผลให้การขยายตัวของ
เศรษฐกิจในช่วงนี้
ชะลอตัวลง จากเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจต่างๆ ส่งผลให้ประเทศไทย ซึ่งถึงแม้จะไม่ใช่เป็นประเทศ
ผู้ส่งออกเหล็กเป็น
ประเทศหลักก็ได้รับผลกระทบทำให้การส่งออกเหล็กลดลง

​                     รูปผลจากการนำเข้าเหล็กของประเทศจีน

 

  • แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็ก
     

       สมาคมเหล็กโลก (World Steel Association) ได้คาดการณ์ความต้องการใช้เหล็กโลกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลมาจากการที่ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ในเอเชียและแอฟริกา
จะเป็นแรงขับเคลื่อน
ให้การบริโภคเหล็กโดยรวมของโลกขยายตัว นอกจากนี้ กลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง
อเมริกากลางและอเมริกาใต้ จะยังคงเจริญเติบโต
ได้ ส่วนประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปการขยายตัวจะหดตัวลง
เนื่องจากปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในขณะที่นักวิเคราะห์จาก Bloomberg
ได้คาดการณ์ว่าความต้องการใช้เหล็กโลก
จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 โดยมีปัจจัยมาจากเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว และปัญหาทาง
ด้านเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป
ส่งผลให้ความต้องการใช้เหล็กโลกลดลงและราคาเหล็กก็มีแนวโน้มลดลงด้วย



              รูปการคาดการณ์ความต้องการใช้เหล็ก ในระยะ 3-6 เดือนข้างหน้า

 

  • แนวโน้มราคาในตลาดโลก (Futures Market)

    การประเมินสถานการณ์ราคาสินค้าเหล็ก ตลาดราคาล่วงหน้าที่ได้รับการอ้างอิงและใช้เป็นปัจจัยในการวิเคราะห์เศรษฐกิจ
    อุตสาหกรรมเหล็ก คือ ตลาด LME (London Metals Exchange)

                                                 ราคาเหล็กใน Futures Market

DIT-KM:Analytics by informations data that related economies,industry and financial markets.
 
ความคิดเห็น :
1
อ้างอิง

วารุณี
สุดยอดจริงๆคะ
http://herb2016.blogspot.com
กว่าจะได้มาเป็นเหล็กขึ้นรูปได้
[url=http://www.herb2016.com/]อาหารเสริมลดน้ำหนัก[/url]
ขอบคุณมากคะ ความรู้มากมายเลย
 
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง : http://www.herb2016.com
วารุณี [1.1.240.xxx] เมื่อ 5/08/2016 15:07
2
อ้างอิง

lindsay og
This is the most amazing one!
lindsay og
 
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง : http://herbapproach.com/product/lindsay-og/
lindsay og [210.185.171.xxx] เมื่อ 13/11/2020 01:31
3
อ้างอิง

Rolling Papers
Rolling Papers
Thanks for created such a great blog site.
 
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง : https://herbapproach.com/product-category/accessories/rolling-papers/
Rolling Papers [184.67.249.xxx] เมื่อ 21/11/2020 11:30
4
อ้างอิง

bluefin tuna strain
Thank you for such an informative post that you’ve shared.
bluefin tuna strain
 
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง : http://herbapproach.com/product/bluefin-tuna/
bluefin tuna strain [184.67.249.xxx] เมื่อ 24/11/2020 00:44
5
อ้างอิง

savita strains
<a href =' https://herbapproach.com/product-category/cannabis-flower/sativa-flowers/ '>sativa strains</a>
Impressive! Much appreciated blog. Thanks for sharing.
 
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง : http://herbapproach.com/product-category/cannabis-flower/sativa-flowers/
savita strains [210.185.171.xxx] เมื่อ 30/11/2020 03:40
1234567891011121314151617181920212223242526272829303132333435363738394041424344454647484950515253545556575859606162636465
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :